2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการเรียนแบบผสมผสานผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 มิถุนายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ “การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2564 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     สถานที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ (ผ่านระบบออนไลน์) 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 28 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 26-37 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างบทเรียนแบบผสมผสานผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการคิดขั้นสูงก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนแบบผสมผสานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านสงเปือยฮ่องเดื่อ ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1 จำนวน 32 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1)การเรียนแบบผสมผสานผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นคำถามแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ 3)แบบวัดการคิดขั้นสูง (การคิดวิเคราะห์ การคิดประเมินค่า และการคิดสร้างสรรค์) เป็นคำถามแบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ รูปแบบการวิจัยที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งการทดลอง ที่มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.84 / 86.50 2) การคิดขั้นสูงของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4)นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 
ผู้เขียน
615050149-7 นาง ศิริพร เทพวงษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum