2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอของกิจการส่งออกขนาดย่อม 
Date of Distribution 28 May 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์ Virtual ErgoCon2021 
     Organiser สมาคมการยศาสตร์ไทย 
     Conference Place ผ่านระบบ zoom 
     Province/State  
     Conference Date 28 May 2021 
     To 28 May 2021 
Proceeding Paper
     Volume การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์ Virtual ErgoCon2021 
     Issue 28 พฤษภาคม 2564 
     Page C1-C8 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และการรับรู้ความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอในกิจการส่งออกขนาดย่อม เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 43 คน ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้สึกไม่สบายตามตำแหน่งของร่างกายจากการทำงาน (Discomfort Questionnaire) การสังเกตท่าทางการทำงาน เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้วิธีประเมินแบบรวดเร็วทั้งร่างกาย (REBA) และแบบประเมินรยางค์ส่วนบน (RULA) ตามที่เหมาะสมกับลักษณะงานนั่งหรือยืน ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่มีระดับความรู้สึกไม่สบายของระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ (แบ่งเป็น 5 ระดับ) ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาคือระดับ 1(เล็กน้อย) ร้อยละ 51.16 ระดับ 2 (ปานกลาง) ร้อยละ 30.23 และระดับ 3 (มาก) ร้อยละ 13.95 ตามลำดับ ตำแหน่งของร่างกายที่มีปัญหาสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ไหล่ ร้อยละ 88.37 คอ ร้อยละ 79.07 และหลังส่วนล่าง ร้อยละ 58.14 ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี RULA (แบ่งความเสี่ยงเป็น 4 ระดับ) พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงคือ ระดับ 2 (ท่าทางนั้นควรตรวจสอบเพื่อแก้ไข) ร้อยละ 51.16 และระดับ 3 (ท่าทางนั้นควรตรวจสอบและต้องแก้ไขโดยเร็ว) ร้อยละ 32.55 ผลการประเมินโดย REBA ในงานยืน พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงคือ ระดับ 3 ร้อยละ 11.63 และระดับ 2 ร้อยละ 4.65 จากระดับความเสี่ยงนี้ทำให้ทราบว่าท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่บริเวณ คอ ไหล่ และหลังส่วนล่าง ดังนั้นจึงเสนอแนะให้จัดทำโปรแกรมปรับปรุงทางการยศาสตร์ตามผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ต้องแก้ไข เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยการให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน หรือทำการปรับปรุงพื้นที่ปฏิบัติงานหรือสถานีงานให้มีความเหมาะสมทางการยศาสตร์เพื่อป้องกันโรคทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอต่อไป 
Author
625110011-4 Miss SUDARAT BOONLA [Main Author]
Public Health Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0