2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอของกิจการส่งออกขนาดย่อม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์ Virtual ErgoCon2021 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมการยศาสตร์ไทย 
     สถานที่จัดประชุม ผ่านระบบ zoom 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 28 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์ Virtual ErgoCon2021 
     Issue (เล่มที่) 28 พฤษภาคม 2564 
     หน้าที่พิมพ์ C1-C8 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และการรับรู้ความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอในกิจการส่งออกขนาดย่อม เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 43 คน ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้สึกไม่สบายตามตำแหน่งของร่างกายจากการทำงาน (Discomfort Questionnaire) การสังเกตท่าทางการทำงาน เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้วิธีประเมินแบบรวดเร็วทั้งร่างกาย (REBA) และแบบประเมินรยางค์ส่วนบน (RULA) ตามที่เหมาะสมกับลักษณะงานนั่งหรือยืน ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่มีระดับความรู้สึกไม่สบายของระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ (แบ่งเป็น 5 ระดับ) ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาคือระดับ 1(เล็กน้อย) ร้อยละ 51.16 ระดับ 2 (ปานกลาง) ร้อยละ 30.23 และระดับ 3 (มาก) ร้อยละ 13.95 ตามลำดับ ตำแหน่งของร่างกายที่มีปัญหาสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ไหล่ ร้อยละ 88.37 คอ ร้อยละ 79.07 และหลังส่วนล่าง ร้อยละ 58.14 ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี RULA (แบ่งความเสี่ยงเป็น 4 ระดับ) พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงคือ ระดับ 2 (ท่าทางนั้นควรตรวจสอบเพื่อแก้ไข) ร้อยละ 51.16 และระดับ 3 (ท่าทางนั้นควรตรวจสอบและต้องแก้ไขโดยเร็ว) ร้อยละ 32.55 ผลการประเมินโดย REBA ในงานยืน พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงคือ ระดับ 3 ร้อยละ 11.63 และระดับ 2 ร้อยละ 4.65 จากระดับความเสี่ยงนี้ทำให้ทราบว่าท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่บริเวณ คอ ไหล่ และหลังส่วนล่าง ดังนั้นจึงเสนอแนะให้จัดทำโปรแกรมปรับปรุงทางการยศาสตร์ตามผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ต้องแก้ไข เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยการให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน หรือทำการปรับปรุงพื้นที่ปฏิบัติงานหรือสถานีงานให้มีความเหมาะสมทางการยศาสตร์เพื่อป้องกันโรคทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอต่อไป 
ผู้เขียน
625110011-4 น.ส. สุดารัตน์ บุญหล้า [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum