2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ยิ่งคาดหวัง ยิ่งกินเยอะ: การพึ่งพาจุดอ้างอิงในร้านบุฟเฟต์ (The higher the goal, the more you eat : Reference-dependence in an All-you-can-eat restaurant.) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มิถุนายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 10 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 
     สถานที่จัดประชุม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา (ออนไลน์) 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มิถุนายน 2564 
     ถึง 25 มิถุนายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 161 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ขณะที่หลายปัจจัยได้รับการพิสูจน์ว่าส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคในร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ มีงานศึกษาเพียงเล็กน้อยที่ให้ความสนใจกับอิทธิพลของการพึ่งพาจุดอ้างอิงต่อปริมาณการบริโภคในบริบทนี้ งานวิจัยฉบับนี้ทำการทดลองกับผู้บริโภคจำนวน จำนวน 224 คน (90 โต๊ะ) ในร้านบุฟเฟต์ปิ้งย่างเกาหลีซึ่งมีเมนู 2 รูปแบบคือแบบพรีเมียมและแบบปกติ (ราคาต่างกัน 100 บาท) โดยผู้บริโภคถูกสุ่มเข้าสู่กลุ่มการทดลอง 3 กลุ่ม ตามรูปแบบบุฟเฟต์ที่เลือกรับประทาน ได้แก่ (1) กลุ่มที่เลือกรับประทานบุฟเฟต์พรีเมียมและรับประทานบุฟเฟต์พรีเมียมในราคาพรีเมียม (2) กลุ่มที่เลือกรับประทานบุฟเฟต์พรีเมียมและได้รับส่วนลดให้ได้รับประทานทานบุฟเฟต์พรีเมียมในราคาบุฟเฟต์ปกติ (3) กลุ่มที่เลือกรับประทานบุฟเฟต์ปกติและถูกอัพเกรดให้รับประทานบุฟเฟต์พรีเมียมในราคาเท่าเดิม ผลการศึกษาพบว่าจุดอ้างอิงจากราคาเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการบริโภคในบริบทนี้ คือผู้บริโภคกำหนดจุดอ้างอิงปริมาณอาหารที่จะรับประทานตามราคาที่จะต้องจ่าย โดยผู้ที่คาดว่าต้องจ่ายค่าอาหารในราคาสูงจะตั้งจุดอ้างอิงปริมาณที่จะรับประทานสูงและรับประทานอาหารมากขึ้นตามไปด้วย เช่นกรณีกลุ่มที่เลือกรับประทานบุฟเฟต์พรีเมียมและได้รับส่วนลดให้รับประทานบุฟเฟต์พรีเมียมในราคาปกติมีปริมาณการรับประทานอาหารมากกว่ากลุ่มที่เลือกรับประทานบุฟเฟต์ปกติและถูกอัพเกรดให้ได้รับประทานบุฟเฟต์พรีเมียม ทั้งที่ทั้ง2กลุ่มจ่ายค่าอาหารเท่ากัน 
ผู้เขียน
625320003-3 น.ส. สิริกาญจน์ ภูชาดา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเศรษฐศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ นานาชาติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0