2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title จิตรกรรมฝาผนังวัดสีพุดทะบาด : คุณค่าและความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับหลวงพระบาง 
Date of Distribution 14 July 2018 
Conference
     Title of the Conference ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 13 July 2018 
     To 14 July 2018 
Proceeding Paper
     Volume 2561 
     Issue
     Page 1033 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทคัดย่อ บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายประวัติ คุณค่า และสัญลักษณ์เชิงความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับหลวงพระบาง ที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “รามเกียรติ์” ที่ “วัดสีพุดทะบาด” เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว จากการศึกษาพบว่า วัดสีพุดทะบาด ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพูสี ใกล้พระราชวังเมืองหลวงพระบาง เดิมชื่อว่า “วัดป่าแค” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2396 ในรัชสมัยพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ ซึ่งตรงกับต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394-2411) และเป็นช่วงที่อาณาจักรล้านช้างมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของสยาม จากลักษณะของภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “รามเกียรติ์” ที่มีรูปแบบ เทคนิค เนื้อหา และองค์ประกอบภาพ ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามี “ช่าง” จากสยามเป็นผู้เขียนหลัก เช่นเดียวกับจิตรกรรมที่ระเบียงคตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้สะท้อนให้เห็นความสำคัญด้านคุณค่าและความสัมพันธ์คือ คุณค่า จิตรกรรมฝาผนังที่วัดสีพุดทะบาดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ ที่สามารถใช้อธิบายลักษณะของภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่ระเบียงคต วัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนที่จะมีการวาดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้อย่างดีเยี่ยม ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับหลวงพระบาง จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ เป็นหนึ่งในศิลปกรรมที่สื่อความหมายถึงการยกย่องสถาบันกษัตริย์ การปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ในเมืองหลวงพระบาง ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับสยามและมีช่างชาวสยามร่วมเขียนด้วย ได้สะท้อนให้ถึงการยอมรับอิทธิพลรูปแบบศิลปกรรม และความเชื่อเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เปรียบเสมือนองค์พระนารายณ์ ที่เป็นอวตารพระรามเพื่อปราบทุกข์เข็ญและปกครองอาณาจักร ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นการยอมรับและความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของสยามกับหลวงพระบางในช่วงเวลาดังกล่าวนั่นเอง  
Author
607220016-3 Mr. SURIN SRESANGNGAM [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0