2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ จิตรกรรมฝาผนังวัดสีพุดทะบาด : คุณค่าและความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับหลวงพระบาง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1033 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายประวัติ คุณค่า และสัญลักษณ์เชิงความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับหลวงพระบาง ที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “รามเกียรติ์” ที่ “วัดสีพุดทะบาด” เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว จากการศึกษาพบว่า วัดสีพุดทะบาด ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพูสี ใกล้พระราชวังเมืองหลวงพระบาง เดิมชื่อว่า “วัดป่าแค” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2396 ในรัชสมัยพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ ซึ่งตรงกับต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394-2411) และเป็นช่วงที่อาณาจักรล้านช้างมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของสยาม จากลักษณะของภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “รามเกียรติ์” ที่มีรูปแบบ เทคนิค เนื้อหา และองค์ประกอบภาพ ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามี “ช่าง” จากสยามเป็นผู้เขียนหลัก เช่นเดียวกับจิตรกรรมที่ระเบียงคตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้สะท้อนให้เห็นความสำคัญด้านคุณค่าและความสัมพันธ์คือ คุณค่า จิตรกรรมฝาผนังที่วัดสีพุดทะบาดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ ที่สามารถใช้อธิบายลักษณะของภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่ระเบียงคต วัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนที่จะมีการวาดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้อย่างดีเยี่ยม ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับหลวงพระบาง จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ เป็นหนึ่งในศิลปกรรมที่สื่อความหมายถึงการยกย่องสถาบันกษัตริย์ การปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ในเมืองหลวงพระบาง ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับสยามและมีช่างชาวสยามร่วมเขียนด้วย ได้สะท้อนให้ถึงการยอมรับอิทธิพลรูปแบบศิลปกรรม และความเชื่อเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เปรียบเสมือนองค์พระนารายณ์ ที่เป็นอวตารพระรามเพื่อปราบทุกข์เข็ญและปกครองอาณาจักร ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นการยอมรับและความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของสยามกับหลวงพระบางในช่วงเวลาดังกล่าวนั่นเอง  
ผู้เขียน
607220016-3 นาย สุรินทร์ ศรีสังข์งาม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0