2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการใช้กรอบงาน SETT ในการพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 สิงหาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาแห่งชาติ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม เครือข่ายวิจัยเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     สถานที่จัดประชุม นำเสนอผ่านระบบZOOM Meeting 
     จังหวัด/รัฐ
     ช่วงวันที่จัดประชุม 5 สิงหาคม 2564 
     ถึง 6 สิงหาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1352-1364 
     Editors/edition/publisher สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทธวิโรฒ 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว โดยใช้กรอบงาน SETT และเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวก่อนและหลังการใช้กรอบงาน SETT (SETT FRAMEWORK) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว อายุ 3 - 10 ปีที่มารับบริการแบบประจำ ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Designการวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE 643018 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว 3) แบบบันทึกการประชุมพิจารณาการสนับสนุนเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกบริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาแก่นักเรียน โดยใช้กรอบงาน SETT 4) คู่มือใช้กรอบงาน SETT ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้องตามสูตร IOC ของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่วัดได้มีค่าเท่ากับ 0.80 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มากกว่า 0.50 ถือว่าสอดคล้องกับวัตถุปะสงค์และการนำไปใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการนับค่าความถี่ของการเกิดพฤติกรรมเป็นค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยการพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว โดยใช้กรอบงาน SETT พบว่า 1) หลังจากการใช้กรอบงาน SETT จำนวน 20 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว มีคะแนนความสามารถสูงขึ้นในทุกด้าน หลังการพัฒนา โดยทักษะที่มีผลคะแนนความสามารถเพิ่มขึ้นสูงที่สุดคือ ทักษะที่ 4 การดื่มน้ำโดยใช้หลอด มีค่าคะแนนความสามารถเพิ่มขึ้นเท่ากับ + 2.4 คะแนน 2)ผลการเปรียบเทียบทักษะทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ของเด็กทั้ง 5 คน แสดงให้เห็นว่า หลังการใช้กรอบงาน SETTผลปรากฏว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวทั้ง 5 คน มีคะแนนความสามารถสูงขึ้นในทุกด้าน หลังการพัฒนา  
ผู้เขียน
625050138-3 น.ส. บุณฑริกา อนุแก่นทราย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0