2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ จากการทำงานของทันตบุคลากร 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์ Virtual ErgoCon2021 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมการยศาสตร์ไทย 
     สถานที่จัดประชุม ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 28 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์ Virtual ErgoCon2021 
     Issue (เล่มที่) 28 พฤษภาคม 2564 
     หน้าที่พิมพ์ D1-D8 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทํางานของทันตบุคลากรและความผิ ดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในทันตบุคลากร กลุ่มตัวอย่างคือ ทันตบุคลากรที่ประจําอยู่สถานพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดเพชรบุรี มีทั้งสิ้นจํานวน 118 คน โดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้สึกไม่สบายบริเวณของร่างกายจากการทํางานบอกความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ มีการสังเกตท่าทางการทํางานด้วยการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ โดยใช้วิธี RULA (Rapid Upper Limb Assessment) ผลการศึกษาพบว่า ทันตบุคลากรมีความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาในทุกคนเมื่อพิจารณาความถี่ของการเกิดอาการผิดปกติหลายๆครั้งในทุกๆวัน พบตําแหน่งที่มีอาการสูงสุด 3 อันดับแรกคือ คอ ร้อยละ 15.25 รองลงมาคือ ไหล่ ร้อยละ 13.56 และหลัง ร้อยละ 10.17 ตามลําดับ เมื่อจำแนกตามความรุนแรงของอาการปวดพบว่า มีอาการปวดระดับปานกลางขึ้นไปตําแหน่งที่พบสูงสุด 3 ลําดับแรก คือ คอ ร้อยละ 71.19 รองลงมาคือ ไหล่ ร้อยละ 69.49 และหลัง ร้อยละ 66.95 ตามลําดับ และเมื่อพิจารณาร่วมเป็นระดับความความรู้สึกไม่สบายทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พบ ระดับความรู้สึกไม่สบายตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป 3 ลําดับแรก คือ คอ ร้อยละ 55.08 รองลงมา คือ ไหล่ ร้อยละ 46.61 และหลัง 41.53 ตามลําดับ ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ด้วยวิธี RULA ตามลักษณะงานพบว่า งานถอนฟันทันตบุคลากรส่วนใหญ่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ คือ ระดับ 3 (ท่าทางที่ควรตรวจสอบและต้องแก้ไขโดยเร็ว) ร้อยละ 58.47 รองลงมาคือ ระดับ 4 (ท่าทางที่ควรได้รับการแก้ไขโดยทันที) ร้อยละ 29.66 ส่วนงานอุดฟันทันตบุคลากรมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ตั้งแต่ระดับ 2 ร้อยละ 65.25 รองลงมาคือ ระดับ 3 ร้อยละ 30.51 โดยมีความเสี่ยงสูงบริเวณคอและหลัง การศึกษาครั้งนี้แสดงถึงผลระดับความเสี่ยงสูงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทํางานไม่เหมาะสมของทันตบุคลากรทั้งในงานถอนฟันและอุดฟันที่อาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติบริเวณคอ ไหล่ หลังที่พบว่า มีความชุกสูง ดังนั้นทันตบุคลากรควรได้รับคําแนะนําในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านท่าทางในการทํางานที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันการปวดคอ ไหล่ หลังเรื้อรังได้ต่อไป 
ผู้เขียน
625110009-1 น.ส. ชลิตา ช่ออบเชย [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0