2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการใช้เรื่องราวทางสังคมรูปแบบสื่อสังคมต่อการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 สิงหาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 9 "เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อปิดช่องว่างการศึกษา" Designed Technology in Closing Educational Gaps 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 
     สถานที่จัดประชุม ณ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 สิงหาคม 2564 
     ถึง 27 สิงหาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 569-578 
     Editors/edition/publisher สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้เรื่องราวทางสังคมรูปแบบสื่อสังคมต่อการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเรื่องราวทางสังคมรูปแบบสื่อสังคม เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว วิธีสลับกลับ หรือ A-B-A Design กลุ่มเป้าหมายได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นเด็กที่มีภาวะออทิสซึมที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 4 คน อายุระหว่าง 4-8 ปี รับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้เรื่องราวทางสังคมรูปแบบสื่อสังคม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) เรื่องราวทางสังคมรูปแบบสื่อสังคม 2) แบบบันทึกช่วงเวลาการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเรื่องราวทางสังคม ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลในรูปแบบของตารางและกราฟเส้นประกอบการบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้เรื่องราวทางสังคมรูปแบบสื่อสังคมทำให้เด็กที่มีภาวะออทิสซึมกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง 2) ในภาพรวมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อเรื่องราวทางสังคมรูปแบบสื่อสังคมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คำสำคัญ : เรื่องราวทางสังคมรูปแบบสื่อสังคม, การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์, เด็กที่มีภาวะออทิสซึม 
ผู้เขียน
625050133-3 น.ส. กิตติญาธร พันทอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0