2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา จากรูปแบบและคติความเชื่อจากขันหมากเบ็ง 
Date of Distribution 13 July 2018 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 4 "อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก" Art Identity : From Local to Global 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 13 July 2018 
     To 14 July 2018 
Proceeding Paper
     Volume ปีที่ 4 
     Issue เล่มที่ 1 ทัศนศิลป์เเละการออกแบบ 
     Page 721-737 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยเพื่อศึกษาขันหมากเบ็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและคติความเชื่อที่พบจากขันหมากเบ็ง และเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่นิยมการตกแต่งบ้านร่วมสมัย โดยทำการศึกษารวบรวมข้อมูลทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม ณ วัดไชยศรี บ้านสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในงานทอดกฐินสามัคคี ระหว่างวันที่ 22-23 ตุลาคม 2560 ด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม นำข้อมูลที่ได้จากการพรรณนาวิเคราะห์ทั้งส่วนรูปธรรมและนามธรรมที่ได้ เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบและผลิตผลงานออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดที่ได้จากการศึกษาขันหมากเบ็ง จากการศึกษาขันหมากเบ็งในด้านรูปธรรมพบว่า รูปทรงกรวยแหลมและเส้นไขว้สามเหลี่ยมสามารถสื่อสารความหมายถึงขันหมากเบ็งได้ ส่วนฐานทรงกระบอกและการใช้เส้นโลหะเพื่อตกแต่งเพิ่มเติมนั้นสามารถช่วยทำให้รูปทรงมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ลักษณะการแบ่งชิ้นส่วนเพื่อการผลิตมีความน่าสนใจ เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสลับสัดส่วนทั้งชิ้นที่เป็นเซรามิกซ์และโลหะ มีความเป็นไปได้ในการเพิ่มรูปแบบ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น และในด้านนามธรรมเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องขวัญ 32 ประการ เป็นความเชื่อหลักในความหมายที่แสดงออกในรูปทรงของขันหมากเบ็งและสามารถใช้แทนความหมายได้อย่างตรงตัว เข้าใจได้ง่ายสามารถสื่อสารผ่านรูปธรรมได้ชัดเจน ส่วนด้านการออกแบบได้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา ชิ้นงานใช้สำหรับวางตกแต่งทั้งสิ้น 8 ชิ้น วางได้ 4 คู่ ในรูปแบบต่างกัน ใช้ดินสโตนแวร์เป็นวัสดุหลักในการผลิต ใช้เคลือบผิวกึ่งมันกึ่งด้าน สีขาว เผาในบรรยากาศเผาไหม้แบบสมบูรณ์(Oxidation)อุณหภูมิ 1,220oC ส่วนประดับรูปดอกไม้เป็นดินพอร์ซเลน เผาแยกส่วนอุณหภูมิ 1,250 oC พร้อมกันนี้ทั้งหมด เผาเพื่อตกแต่งทองอีกครั้งที่อุณหภูมิ 800oC จากนั้นนำมาประกอบเข้ากับเหล็กเส้นทำสีทอง  
Author
607220034-1 Miss KWANHATAI THADA [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0