2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาเครื่องมือ Discrete Choice Experiment สำหรับการศึกษาการตัดสินใจเลือกงานให้ความรู้และคำปรึกษาสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเภสัชกรร้านยา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 มกราคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบสอบถาม DCE สำหรับศึกษาความประสงค์ต่อการเลือกใช้บริการงานให้ความรู้และคำปรึกษาสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเภสัชกรร้านยา และแสดงผลการพัฒนาในแต่ละขั้นตอน ก่อนนำไปใช้ในงานวิจัยหลักต่อไป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วิธีการศึกษา:ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานในการสร้างแบบสอบถาม DCE แบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน; 1) แยกแยะคุณลักษณะ และระดับของคุณลักษณะ 2) กำหนดรูปแบบของ DCE และข้อคำถามเพื่อทดสอบคุณสมบัติอื่น 3) ออกแบบ DCE โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 4) ทดสอบความเข้าใจในการตอบแบบสอบถาม DCE โดยการสัมภาษณ์ด้วยวิธี Think aloud technique 5) ทดลองนำร่อง และ 6) ออกแบบ DCE สำหรับการวิจัยหลัก ผลการศึกษา: ผลการศึกษาตาม 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) พบคุณลักษณะงานให้ความรู้และคำปรึกษาสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 5 ด้านที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ ได้แก่ ค่าบริการ ระยะเวลาในการสนทนา วิธีการคัดกรอง รูปแบบการให้ความรู้และคำปรึกษา และความต่อเนื่องของการสนทนา 2) กำหนดรูปแบบของทางเลือกแบบไม่ระบุชื่อจำนวน 2 ทางเลือก และเพิ่มการไม่เลือกการใช้บริการทั้งสองทางเลือก, กำหนดข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ 3) ออกแบบคำถาม DCE โดยวิธี efficient design ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป 4) ผลการทดสอบความเข้าใจในการตอบ DCE จากการสุ่มอย่าง่ายกับลูกค้าจำนวน 7 คน พบว่ามีการปรับคำอธิบายเล็กน้อย 5) ผลการศึกษานำร่องจากการสุ่มอย่างง่ายกับลูกค้าจำนวน 32 คน พบว่า ในกรณีคุณลักษณะของงานบริการทั้ง 5 ด้านให้อรรถะประโยชน์เท่ากัน อาสาสมัครยินดีเลือกใช้บริการงานให้ความรู้และคำปรึกษาสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 6) นำค่าสัมประสิทธิ์และทิศทางที่ได้ของการศึกษานำร่องมาออกแบบ DCE สำหรับการวิจัยหลักโดยวิธี Bayesian efficient design พบว่าข้อคำถามจำนวน 12 ข้อมีความเหมาะสมสำหรับการศึกษาวิจัยหลักต่อไป สรุปผลการวิจัย การวิจัยนี้แสดงถึงการพัฒนาเครื่องมือ DCE จำนวน 6 ขั้นตอน สำหรับศึกษาความประสงค์ต่อการเข้าร่วมงานให้ความรู้และคำปรึกษาสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเภสัชกรร้านยา ได้แบบสอบถาม DCE ประกอบด้วย 5 คุณลักษณะ และมีความเหมาะสมสำหรับใช้ในการวิจัยหลักต่อไป การศึกษาอื่นที่ต้องการใช้เครื่องมือ DCE สามารถนำแนวทางนี้ประยุกต์ใช้ต่อไปได้  
     คำสำคัญ การทดลองให้เลือกแบบแยกส่วน, การพัฒนาแบบสอบถาม, เภสัชกรร้านยา, การบำบัดอย่างสั้นสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
ผู้เขียน
607150002-3 นาง สุกัณฑา หมวดทอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0