2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อย ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 สิงหาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อยในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 379 คน ตรวจวัดความร้อนโดยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ และประยุกต์ใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยตนเองของผู้ทำงานกลางแจ้ง ซึ่งมีข้อมูลทั้งหมด 3 ส่วนประกอบด้วย ปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล การทำงานกลางแจ้ง และประวัติอาการเจ็บป่วยจากความร้อน วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยการรวมคะแนนเพื่อจัดความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ คือ ต่ำ ปานกลาง และสูง ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 86.81) ประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 5 ปี (ร้อยละ 88.13) ทำงานกลางแจ้งตลอดทั้งวัน (ร้อยละ 99.74) สัมผัสแสงแดดโดยตรงมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 96.04) เกษตรกรเคยมีอาการเจ็บป่วยจากความร้อนอย่างน้อย 1 อาการหรือ 1 ครั้ง (ร้อยละ 34.30) โดยพบอาการเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยล้าจากความร้อนชั่วคราว (ร้อยละ 22.96) รองลงมาคือ อาการปวดเกร็งที่กล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว (ร้อยละ 16.89) และอาการเป็นลมแดด (ร้อยละ 11.41) ตามลำดับ มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (ร้อยละ 46.44) การมีโรคประจำตัวที่อาจทำให้ความสามารถรับมือกับความร้อนลดลง (ร้อยละ 8.45) ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพคือ มีความเสี่ยงระดับปานกลาง (ร้อยละ 87.07) รองลงมาคือ ระดับต่ำ (ร้อยละ 12.93) และผลการตรวจวัดความร้อนพบว่าอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 31.2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับเกณฑ์การสัมผัสความร้อนของ ผู้ทำงานกลางแจ้งคือ มีความเสี่ยงระดับปานกลาง เช่นเดียวกับผลประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง และเกษตรกรทุกรายไม่ได้รับการอบรมด้านการทำงานกับความร้อน จึงเสนอแนะให้มีการอบรมให้ความรู้ด้านการทำงานกับความร้อนแก่เกษตรกร การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการทำงานกลางแจ้ง และโรคประจำตัวที่มีผลต่อการทำงานกับความร้อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่เกิดจากความร้อนให้กับเกษตรกรตัดอ้อย และแบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยตนเองของผู้ทำงานกลางแจ้งนี้ใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อย หรือกลุ่มเกษตรกรที่ทำงานกลางแจ้งคล้ายกันได้ต่อไป 
     คำสำคัญ แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยตนเองของผู้ทำงานกลางแจ้ง / การสัมผัสความร้อน / เกษตรกรตัดอ้อย  
ผู้เขียน
625110065-1 น.ส. ทิพย์อัปษร วิชาทร [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0