2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ วิธีการประเมินเชื้อพันธุกรรมอ้อยต้านทานต่อเพลี้ยจักจั่นปีกลายจุดสีน้ำตาล Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) พาหะนำโรคใบขาวอ้อย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร (Khon Kean Agriculture Journal) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร Thaijo 
     ISBN/ISSN 129-64-kaj 
     ปีที่ 50 
     ฉบับที่
     เดือน พ.ค. - มิ.ย.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 1-10 
     บทคัดย่อ โรคใบขาวอ้อยทำความเสียหายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมอ้อยในประเทศไทย มีเพลี้ยจักจั่นปีกลายจุดสีน้ำตาล Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) เป็นแมลงพาหะที่สำคัญนำเชื้อไฟโตพลาสมา ปัจจุบันยังไม่มีพันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรคใบขาวอ้อย การศึกษานี้เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินพันธุ์อ้อยต้านทานต่อแมลงพาหะจากการเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงพืชของแมลงโดยใช้รอยเจาะของปลอกหุ้มน้ำลายและการปล่อยมูลหวาน ผลต่อการเจริญเติบโตและการรอดชีวิตของแมลงพาหะ ผลการศึกษาได้จัดแบ่งระดับความต้านทานอ้อยที่ทดสอบ 7 เชื้อพันธุกรรม จาก 2 สกุล คือ Erianthus และ Saccharum ได้ 3 กลุ่ม 1) พันธุ์ต้านทานต่อแมลงพาหะ ในอ้อยสกุล Erianthus ได้แก่ เชื้อพันธุกรรม ThE10-6, ThE99-146, ThE99-91, ThE03-7 และ ThE03-5 พบจำนวนเฉลี่ยของรอยเจาะปลอกหุ้มน้ำลายมาก 20.50 ± 4.55 ถึง 23.50 ± 3.53 รอยเจาะ มีพื้นที่มูลหวานที่แมลงขับออกมา 0.13 ± 0.29 ถึง 0.78 ± 0.96 ตารางมิลลิเมตร แมลงพาหะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และไม่สามารถถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาสู่อ้อยได้ 2) พันธุ์ต้านทานปานกลางต่อแมลงพาหะ อ้อยสกุล Saccharum เชื้อพันธุกรรม UT5 และ 3) พันธุ์ไม่ต้านทานต่อแมลงพาหะ อ้อยสกุล Saccharum เชื้อพันธุกรรม KK3 มีจำนวนเฉลี่ยรอยเจาะปลอกหุ้มน้ำลายน้อยที่สุด 13.35 ± 4.56 รอยเจาะ มีพื้นที่มูลหวาน 15.13 ± 5.91 ตารางมิลลิเมตร แมลงสามารถดูดกินอ้อยได้ดีทำให้เจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิต มีระยะเวลาการพัฒนาจากระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัย 62.69 ± 3.07 วัน อัตราการรอดชีวิต 83.33 % ดังนั้นการใช้วิธีการประเมินผลของความต้านทานของพันธุ์อ้อยต่อการดูดกินและการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ สามารถใช้ในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อแมลงพาหะนำโรคใบขาวอ้อยได้ 
     คำสำคัญ เชื้อไฟโตพลาสมา; อ้อยสกุล Erianthus; อ้อยสกุล Saccharum; รอยเจาะของปลอกหุ้มน้ำลาย; มูลหวาน 
ผู้เขียน
615030021-5 น.ส. กนกวรรณ คำสุเรศ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0