2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางการตลาดโรงน้ำแข็งของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยซีเคว้นซ์ ซัพพลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 ตุลาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบการตลาดของโรงน้ำแข็งของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยซีเคว้นซ์ ซัพพลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย นิยามและให้ความหมายองค์ประกอบการตลาดของโรงน้ำแข็งของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยซีเคว้นซ์ ซัพพลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย และกำหนดแนวทางการตลาดของโรงน้ำแข็งของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยซีเคว้นซ์ ซัพพลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ซึ่งมีวิธีการศึกษาโดยใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบกึ่งโครงสร้างเพื่อหาตัวแปรสังเกตได้ การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่มีการวางแผนการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นขั้นตอน (มานพ คณะโต, 2550) และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเพื่อจำแนกองค์ประกอบ ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 324 คนจากการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 30 ไปจนถึง 40 ปี มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ย 15,000 บาท จนถึง 20,000 บาท วงเงินที่ใช้บริโภคน้ำแข็งอยู่ที่ต่ำกว่า 200 บาทต่อสัปดาห์ ซึ่งสามารถจำแนกองค์ประกอบของแนวทางการตลาดโรงน้ำแข็งได้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความเป็นมาตรฐานของโรงงานน้ำแข็ง (Standardize ice factory) ใช้ตัวย่อว่า “S” (2) ลูกค้ารับรู้สามารถเข้าถึงตัวสินค้าได้ง่ายขึ้น (Easy to access) ใช้ตัวย่อว่า “E” (3) การตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว (Quick respond) ใช้ตัวย่อว่า “Q” (4) คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่ลูกค้าจะได้รับ (Utmost benefits) ใช้ตัวย่อว่า “U” (5) การบริการสุดพิเศษ (Exclusive services) ใช้ตัวย่อว่า “E” (6) การเจรจาต่อรองกับลูกค้า (Negotiate deal) ใช้ตัวย่อว่า “N” (7) ลูกค้ารับรู้ถึงคุณค่าที่เพิ่มขึ้น (Customer Value added) ใช้ตัวย่อว่า “C” (8) การให้การบริการกับลูกค้าอย่างมืออาชีพ (Expertise services) ใช้ตัวย่อว่า “E” โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายแนวทางการตลาดของโรงน้ำแข็ง ได้ร้อยละ 58.6114 และนำองค์ประกอบที่ได้มากำหนดเป็นแนวทาง “SEQUENCE” โดยให้นิยามว่า น้ำแข็งมาตรฐานบริการโดนใจ สำหรับเป็นแนวทางการตลาดของโรงน้ำแข็งของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยซีเคว้นซ์ ซัพพลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย จำนวน 8 แนวทาง  
     คำสำคัญ แนวทางการตลาด, องค์ประกอบการตลาด, โรงน้ำแข็ง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย 
ผู้เขียน
625740017-2 นาย ปัญญสิฐ ผาสุขธรรม [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0