ชื่อบทความ |
การวิเคราะห์ข้อมูลกะโหลกมนุษย์โดยใช้หลักการวิเคราะห์วัตถุสารสนเทศ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
19 สิงหาคม 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
41 |
ฉบับที่ |
5 |
เดือน |
กันยายน - ตุลาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
12-29 |
บทคัดย่อ |
กะโหลกเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์ในการวิเคราะห์ทางนิติเวชเพื่อค้นหาคุณลักษณะของบุคคลและนำไปสู่การวินิจฉัยตัวบุคคลได้ การจัดการข้อมูลกะโหลกอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางนิติมานุษยวิทยาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลกะโหลกมนุษย์ ตามหลักการวิเคราะห์วัตถุสารสนเทศ ของ Gilliland (2016) ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา โดยอ้างอิงข้อมูลกะโหลกคนไทยจากงานวิจัยของ Tuamsuk, Nonsrichan, & Sirisilp (2013) และการสัมภาษณ์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายวิภาคศาสตร์และด้านนิติเวชศาสตร์ จำนวน 4 คน โดยวิธีสโนว์บอล โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยสรุปว่า กะโหลกมนุษย์ ซึ่งในงานวิจัยนี้ถือว่าเป็น วัตถุสารสนเทศ (Information object) มีองค์ประกอบของข้อมูล 3 ด้านคือ (1) ข้อมูลเนื้อหา (Content data) ประกอบด้วย ข้อมูลกระดูก และข้อมูลตำแหน่งอ้างอิง (Landmark) (2) ข้อมูลบริบท (Context data) ประกอบด้วย ข้อมูลเจ้าของกะโหลก เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ นํ้าหนัก ส่วนสูง และภาพกะโหลก เป็นต้น และ (3) ข้อมูลโครงสร้าง (Structure data) ประกอบด้วย ข้อมูลความยาวของกะโหลก และดัชนีกะโหลก ผลจากการวิจัยนี้ทำให้ได้ชุดข้อมูลและรายละเอียดข้อมูลที่สามารถนำไปพัฒนาเมทาดาทาและคลังข้อมูลกะโหลก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางการแพทย์และการวิเคราะห์คุณลักษณะกะโหลกเพื่อระบุตัวบุคคลในทางนิติมานุษยวิทยา |
คำสำคัญ |
ข้อมูลกะโหลกมนุษย์, การวิเคราะห์ข้อมูล, การวิเคราะห์วัตถุสารสนเทศ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|