2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดหืดกำเริบของผู้ป่วยโรคหืดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 ตุลาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยมข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN 2672-9636(Online) 
     ปีที่ 22 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดหืดกำเริบของผู้ป่วยโรคหืด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคหืดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 10,615 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 400 คน เกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ (1) ผู้ป่วยโรคหืดได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหืดอย่างน้อย 1 ปี และ (2) มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เกณฑ์คัดออก ได้แก่ (1) มีโรคร่วมที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ (2) ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคจิตเวช และ (3) ตั้งครรภ์หรือได้รับการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ ที่มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.80–1 และมีค่าความแม่นยำ 0.79 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม 2563 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chi–square test เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคหืดมีสัดส่วนของเพศชายและเพศหญิงเท่าๆกัน (ร้อยละ 49.20, 50.80) มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 28.75 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 50.00 บทบาทในครอบครัว เป็นผู้อาศัย/ญาติ ร้อยละ 35.75 มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 28.25 และไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 28.00 ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสัตว์ เป็นบุคลากรทางการแพทย์/พนักงานโรงงานพลาสติก/ทำงานเกี่ยวกับแป้งขนมปัง ร้อยละ 41.00 มีรายได้ระหว่าง 8,001–12,000 บาท ร้อยละ 29.00 เป็นผู้ป่วยโรคหืดเกิดหืดกำเริบในระดับรุนแรง ร้อยละ 39.75 ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าบทบาทในครอบครัว ระดับการศึกษา การมีประวัติเสี่ยงต่อการกำเริบของหืด และการมีภาวะสุขภาพที่เสี่ยงมีความสัมพันธ์กับระดับการเกิดหืดกำเริบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) สรุป ประมาณ 2 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคหืด เกิดหืดกำเริบในระดับรุนแรง ซึ่งพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำเริบของโรคหืดได้แก่ บทบาทในครอบครัว ระดับการศึกษา การมีประวัติเสี่ยงต่อการกำเริบของหืด และการมีภาวะสุขภาพที่เสี่ยง ดังนั้นควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้อย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถควบคุมการเกิดหืดกำเริบได้  
     คำสำคัญ ปัจจัยของการเกิดหืดกำเริบ, การเกิดหืดกำเริบ, ผู้ป่วยโรคหืด  
ผู้เขียน
597070030-2 นาง รชยา ยิกุสังข์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0