2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ทุงอีสาน : ภูมิปัญญาและความสัมพันธ์ในชุมชน Isan flag : Wisdom and relationships in the community  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 สิงหาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร PalArch’s Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology 
     มาตรฐานของวารสาร SCOPUS 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร PalArch’s (Intellectual Edge Consultancy ) 
     ISBN/ISSN Intellectual Edge Consultancy SDN Bhd 
     ปีที่ 18 
     ฉบับที่ 16 
     เดือน 05-09
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 72 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความเรื่องทุงอีสาน : ภูมิปัญญาและความสัมพันธ์ในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของทุงอีสานและเพื่อศึกษาภูมิปัญญาและความสัมพันธ์ในชุมชนของทุงอีสาน โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม ด้วยเครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสำรวจ การสัมภาษณ์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการศึกษาทุงอีสาน ทำการวิเคราะห์กับแนวคิดภูมิปัญญา แนวคิดมิติทางวัฒนธรรม แนวคิดความสัมพันธ์ ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีสัมพันธ์สัญลักษณ์ และนำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่าทุงในพื้นที่อีสานมีประวัติความเป็นมายาวนานตามหลักฐานทางโบราณคดี และงานจิตรกรรมที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับศาสนา โดยแบ่งพัฒนาการของทุงได้ 3 ช่วงเวลาคือ 1.ทุงสมัยพุทธกาล 2.ทุงในช่วง อีสาน-ล้านช้าง พุทธศตวรรษที่ 19 (พ.ศ.1896) 3.ทุงยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน(2475-ปัจจุบัน) เกิดจากปัจจัยทางด้านสังคม วัฒนธรรม นโยบายภาครัฐ การเมืองและเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนอีสาน ด้านภูมิปัญญาของทุงอีสานพบ 5 ด้านคือ 1.ด้านคติความเชื่อ จากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาสู่รูปแบบที่มีลักษณะตามการใช้งาน ตามพื้นที่และกลุ่มชาติพันธุ์ 2.ด้านรูปแบบ พบว่ามีการใช้งานทุง 3 รูปแบบคือรูปแบบทุงไชยที่เป็นผ้าทอเป็นผืนยาว รูปแบบทุงใยแมงมุม และรูปแบบการตัดต่อผ้าผืนเป็นรูปร่างที่เรียกว่าทุงชนะมาร 3.ภูมิปัญญาด้านลวดลาย มีความเชื่อและคำสอนสอดแทรกอยู่ในผืนทุง โดยมีการแบ่งกลุ่มลวดลายออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ 1)ลายพระพุทธรูป(พระศรีอริยเมตไตย)และพระธาตุเกตุเกศแก้วจุฬามณี 2)ลายศาสนสถาน 3)ลายเครื่องบูชา 4)ลายคน 5)ลายสัตว์มงคล 6)ลายพืชพันธุ์ 7)ลายขิดโบราณประกอบ 8)ลายเรื่องราวพระเวสสันดร 4.ภูมิปัญญาด้านวัสดุ เป็นการใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ตามความถนัดและจินตนาการของช่างทุง 5.ภูมิปัญญาด้านกระบวนการผลิต เกิดจากปัจจัยทางกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมร่วมทำให้ทุงมีรูปแบบวิธีการผลิตที่แตกต่างและคล้ายคลึงกัน และความสัมพันธ์ในชุมชนของทุงอีสานในหลายมิติกับพื้นที่ 3 ด้านคือ 1.พื้นที่ทางกายภาพ คือพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนในชุมชนดำเนินกิจกรรมร่วมกัน 2.พื้นที่ทางความคิด ความเชื่อ คือความสัมพันธ์ทางวิธีคิดแนวคิดที่สืบทอดกันมาเพื่อยึดถือปฏิบัติ 3.พื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรม คือความสัมพันธ์ของทุงอีสานต่อวิถีชีวิต มีการกำหนดบทบาทและสร้างความหมายร่วมกันของคนในชุมชน ปัจจุบันทุงมีการใช้งานตามแบบประเพณีดั้งเดิม เช่น การใช้ในงานบุญผะเหวด บุญกฐิน และการใช้งานทุงที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยในงานเทศกาลประเพณีต่างๆประจำจังหวัด ขบวนแห่ประเพณี นำไปตกแต่งสถานที่สำคัญ ตกแต่งอาคาร บ้านเรือน ตามสถานที่นอกเหนือจากงานบุญเพื่อความสวยงามและความเป็นสิริมงคล คำสำคัญ : ภูมิปัญญา, ความสัมพันธ์, ทุงอีสาน  
     คำสำคัญ ภูมิปัญญา, ความสัมพันธ์, ทุงอีสาน 
ผู้เขียน
607220012-1 น.ส. ปาริชาติ ศรีสนาม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0