ชื่อบทความ |
ผลของการออกกำลังกายด้วยท่าไหว้ครูมวยไทยแบบผสมผสาน ต่อสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักตัวของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
29 ธันวาคม 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
44 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
100-117 |
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่าไหว้ครูมวยไทยแบบผสมผสานต่อสมรรถภาพทางกาย และสัดส่วนร่างกายของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นักศึกษาเพศชายและเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินจำนวน 34 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 17 คน และกลุ่มทดลอง 17 คน ที่มีอายุระหว่าง 19 - 24 ปี ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ช่วงเวลา (17.00 – 18.00 น.) ทดลองวันละ 60 นาที กลุ่มทดลองทั้งหมด เป็นนักศึกษาในสังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ในปีการศึกษา 2563 ทำการทดสอบเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่ 1 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ข้อมูลทดสอบได้แก่ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย อัตราส่วนรอบเอวรอบสะโพก เปอร์เซ็นต์ไขมัน ความดันโลหิตตัวบน ความดันโลหิตตัวล่าง ชีพจร นั่งงอตัว แรงบีบมือ และแรงเหยียดขา วิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ Paired sample t-test และ Independent sample t-test ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า น้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกายเปอร์เซ็นต์ไขมันความดันโลหิตตัวบน ความดันโลหิตตัวล่าง อัตราการเต้นของหัวใจ นั่งงอตัว แรงบีบมือ และแรงเหยียดขา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่อัตราส่วนรอบเอวและรอบสะโพกไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
คำสำคัญ |
การออกกำลังกาย ท่าไหว้ครูมวยไทย สมรรถภาพทางกาย น้ำหนักเกิน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|