2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 มกราคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 The Effect of Teaching Method based on Affective Domain of Health Education Learning on Health Behavior in Grade 9 at Chumpholphonphisai School บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียน การสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียน เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียน เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น โดยใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบยกกลุ่ม ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 11 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละความก้าวหน้า และการทดสอบค่าที (dependent t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 27.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.16 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียน การสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.44 อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิจัยดังกล่าวสรุปได้ว่า การใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ เป็นรูปแบบการเรียนการสอน ที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านทัศนคติหรือค่านิยม จะเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนสูงขึ้น รวมทั้งนักเรียนยังมี ความพึงพอใจในการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด 
     คำสำคัญ 1. จิตพิสัย 2. สุขศึกษา 3. พฤติกรรมสุขภาพ 
ผู้เขียน
605050144-6 จ.ส.อ.หญิง ดลฤดี โนนสุรัตน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0