2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างได้เพื่อฝึกทักษะในการเตรียมอาหารภายในห้องครัว สำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 31 ธันวาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม When Architecture meet Art 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 ธันวาคม 2564 
     ถึง 17 ธันวาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 407-421 
     Editors/edition/publisher รองศาสตราจารย์ ดร.นิรัช สุดสังข์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การออกแบบเฟอร์นิเจอร์มัลติฟังค์ชั่น เพื่อฝึกทักษะในการเตรียมอาหารภายในห้องครัว สำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเฟอร์นิเจอร์ กระบวนการ และความต้องการในการทำอาหารระหว่างผู้ปกครองกับเด็กอายุ 4-6 ปี 2) เพื่อออกแบบเฟอร์นิเจอร์มัลติฟังค์ชั่น เพื่อฝึกทักษะในการเตรียมอาหารภายในห้องครัว สำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี เป็นการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น เด็กชายและหญิงชาวไทย วัย 4-6 ปีที่มีความชื่นชอบด้านการทำอาหาร ผู้ปกครองชาวไทยที่มีรายได้ 50,000 – 100,000 บาท/เดือน ที่มีความต้องการจะสนับสนุนให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะทำอาหารด้วยตัวเอง ครอบครัวขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่จำนวน 2-4 คน เป็นต้นไป อยู่บ้านเดี่ยวที่มีขนาดพื้นที่ครัวเท่ากันหรือมากกว่า 14 ตารางเมตร เช่น 3.5 เมตร x 4.00 เมตร, 4.00 เมตร x 4.00 เมตร เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำหรับเด็ก 4-6 ปี ผลการศึกษาเฟอร์นิเจอร์มัลติฟังค์ชั่น เพื่อฝึกทักษะในการเตรียมอาหารภายในห้องครัว สำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี พบว่า เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในการเตรียมอาหารนั้นมีความสำคัญต่อเด็กไม่ว่าจะเป็น ส่วนสูง ที่สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมในการเตรียมอาหาร โต๊ะที่ต่ำเกินไปเมื่อเด็กทำอาหารต้องก้มต่ำลงจะส่งผลต่อร่างกาย เมื่อสูงเกินไปจะส่งผลต่อความปลอดภัย หรือมุมมองในการเตรียมอาหาร วัสดุ ที่มีความปลอดภัย สามารถทำความสะอาดได้ง่าย การออกแบบที่สามารถดึงดูดความสนใจของเด็ก และวัสดุ อุปกรณ์ในการทำอาหารที่มีความเหมาะสมกับเด็ก สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากโรงเรียนทำอาหารนั้นได้แก่ การหั่น การล้าง การโขลก การคั้น การทุบ การคน การชั่ง การตวง การหยิบจับอุปกรณ์การทำอาหารต่างๆ เป็นต้น การเตรียมอาหารจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วัตถุดิบในการนำมาประกอบอาหารได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเด็กเมื่อได้เรียนรู้ในการประกอบอาหารจากทางโรงเรียนแล้ว เด็กได้กลับมายังที่บ้านพวกเขาเหล่านั้นมีความต้องการที่จะประกอบอาหารร่วมกับผู้ปกครองมากขึ้น ผู้ปกครองจึงได้มีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมเด็กให้ประกอบอาหารร่วมกับอย่างเหมาะสม และเป็นไปในทางเดียวกันกับที่เด็กได้เรียน ผู้ปกครองมีโอกาสได้เห็นพัฒนาการ เมื่อมีส่วนร่วมในการประกอบอาหารร่วมกันกับเด็ก  
ผู้เขียน
615200010-4 น.ส. นริศรา จงใจ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0