2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 
Date of Acceptance 20 February 2022 
Journal
     Title of Journal วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 
     Standard TCI 
     Institute of Journal วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 
     ISBN/ISSN  
     Volume 12 
     Issue
     Month กรกฎาคม - กันยายน 2565
     Year of Publication 2022 
     Page  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการฟังภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปและ 2) พัฒนาความสามารถในการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 12 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน (2) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู (3) แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน และ (4) แบบวัดความสามารถในการฟังภาษาจีนท้ายวงจร วงจรละ 10 ข้อ จำนวน 30 ข้อ (5) แบบวัดความสามารถในการพูดภาษาจีนท้ายวงจร วงจรละ 2 สถานการณ์ จำนวน 6 สถานการณ์ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบวัดความสามารถในการฟังภาษาจีนของนักเรียน มีข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 15 ข้อและ (2) แบบวัดความสามารถในการพูดภาษาจีนของนักเรียน จำนวน 6 สถานการณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าร้อยละ (%) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการฟังภาษาจีนเฉลี่ยเท่ากับ 23.40 คิดเป็นร้อยละ 78.00 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 27 คน คิดเป็นร้อยละ 79.41 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และ 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการพูดภาษาจีนเฉลี่ยเท่ากับ 22.60 คิดเป็นร้อยละ 75.33 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 29 คน คิดเป็นร้อยละ 85.29 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 
     Keyword ความสามารถในการฟัง, ความสามารถในการพูด, การจัดการเรียนรู้บริบทเป็นฐาน, การใช้สื่อสังคมออนไลน์ 
Author
625050185-4 Miss LUO QIN [Main Author]
Education Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0