2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย HIGH SCHOOL STUDENTS’ VALUES IN MATHEMATICS LEARNING  
Date of Distribution 26 December 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมระดับชาติครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 12 การศึกษาฐานสมรรถนะในยุค New Normal 
     Organiser คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 
     Conference Place Online by Zoom 
     Province/State นครศรีธรรมราช 
     Conference Date 25 December 2021 
     To 26 December 2021 
Proceeding Paper
     Volume 12 
     Issue
     Page 342-353 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เก็บข้อมูลจากโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 1 โรงเรียน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ รวมทั้งหมด 294 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสำรวจค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และดำเนินการเก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6 ด้าน ของ Zhang et al. (2016) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (1) ด้านการประสบความสำเร็จ (achievement) ในระดับมาก และข้อมูลเชิงคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 37.30 ให้ความสำคัญเกี่ยวกับแรงบันดาลใจ ที่ทำให้อยากเรียนคณิตศาสตร์ได้ดี (2) ด้านความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน (relevance) ให้ความสำคัญระดับมาก และข้อมูลเชิงคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 40.14 ซึ่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ช่วยในการดำเนินชีวิต-ประจำวัน (3) ด้านการปฏิบัติ (practice) ให้ความสำคัญระดับมาก และข้อมูลเชิงคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 13.83 ซึ่งให้ความสำคัญในการทบทวนบทเรียนด้วยตนเองหรือกับเพื่อน (4) ด้านการสื่อสาร (communication) ให้ความสำคัญระดับน้อย และข้อมูลเชิงคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 2.94 โดยให้ความสำคัญกับเพื่อนเพื่อใช้พูดคุยอภิปราย (5) ด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร (ICT) คิดเป็นร้อยละ 3.85 ให้ความสำคัญในการใช้เครื่องคำนวณ (6) ด้านการสะท้อนกลับ (feedback) คิดเป็นร้อยละ 1.93 ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสะท้อนความเข้าใจของนักเรียน 
Author
615050128-5 Miss ACHARIYA CHUEAPECH [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0