2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความตระหนักในการคิดของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา 
Date of Distribution 26 December 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการ ครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 12 "การศึกษาฐานสมรรถนะในยุค New Normal" 
     Organiser คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 
     Conference Place ออนไลน์ (Zoom) 
     Province/State นครศรีธรรมราช 
     Conference Date 25 December 2021 
     To 26 December 2021 
Proceeding Paper
     Volume 12 
     Issue
     Page 301-310 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract งานวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักในการคิดของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 11 คน ซึ่งเป็นชั้นเรียนที่ผ่านการจัดการเรียนการสอนภายใต้บริบทของการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ใบกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ แบบบันทึกความรู้ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบบันทึกการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ และวีดิทัศน์การจัดการเรียนการสอน ข้อมูลที่ได้รวบรวมนำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดการพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2561) ที่ปรับเข้ากับขั้นตอนของวิธีการแบบเปิดในฐานะที่เป็นแนวทางการสอน (Inprasitha, 2010) ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในการคิด โดยนักเรียนมีแนวคิดที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาที่เหมือนหรือแตกต่างกันตามแนวคิดที่แต่ละคนได้ค้นพบจากการลงมือทำและคิดกับสิ่งที่ทำ โดยมีหลักฐานของความตระหนักในการคิดคือ มีการปรากฏของแนวคิดหรือเครื่องมือที่นักเรียนเคยใช้ในการแก้ปัญหาในคาบเรียนก่อนหน้า แนวคิดของนักเรียนได้มีการสะสม และถูกนำมาใช้ต่อ ทั้งในหน่วยการเรียนรู้เดียวกันและหน่วยการเรียนรู้อื่น ทั้งในระดับชั้นเดียวกันและในระดับชั้นที่สูงขึ้น นอกจากนี้พบว่า แนวคิดที่นักเรียนตระหนักและถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา บางแนวคิดได้มีการพัฒนาและถูกใช้ร่วมกับแนวคิดอื่น กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ 
Author
615050124-3 Mr. PATTARAPONG WORASAKMAHASAN [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum