2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง ในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง ความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง ในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง Reliability of Knee Flexors and Knee Extensors Muscle Strength Assessment and Five Times Sit to Stand Test in Elderly with Bilateral Knee Osteoarthritis  
Date of Distribution 25 March 2022 
Conference
     Title of the Conference การประชุุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้้งที่่ 32 ประจำปี 2565 
     Organiser สถาบันวิจัยและพัฒนา และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ 
     Conference Place Online  
     Province/State  
     Conference Date 25 March 2022 
     To 25 March 2022 
Proceeding Paper
     Volume 32 
     Issue 32 
     Page 1505-1512 
     Editors/edition/publisher สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 
     Abstract การทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง (Five times sit to stand test; FTSST) เป็นวิธีประเมินวัดความสามารถในการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และความสามารถในการทำนายการล้มในอาสาสมัครผู้สูงอายุได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และความน่าเชื่อถือในการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้งในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง วัตถุประสงค์ในการวิจัยในครั้งนี้คือเพื่อศึกษาการหาค่าความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และความน่าเชื่อถือในการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้งในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่มีอายุ 60 - 80 ปีที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน และมีอาการข้อเข่าเสื่อมทั้ง 2 ข้าง โดยได้รับการประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford knee score; OKS) และมีระดับคะแนนอยู่ในระดับ 20-39 คะแนน ซึ่งบ่งชี้ถึงการมีภาวะข้อเข่าเสื่อมในระดับเริ่มต้นจนถึงในระดับปานกลาง โดยอาสาสมัครจะได้รับการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง Handheld dynamometer (HHD) และได้รับการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Intraclass correlation coefficient: ICC เพื่อหาค่าความน่าเชื่อถือภายในผู้วัด ผลการศึกษาพบว่าค่าความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่ามีค่าความน่าเชื่อถือภายในตัวผู้วัดอยู่ในระดับที่ดีมากทั้งสองข้าง (ICC=0.996, 0.991, p<0.001) ค่าเฉลี่ยของการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง เท่ากับ 11.42±1.79 วินาที และพบว่ามีค่าความน่าเชื่อถือภายในตัวผู้วัดอยู่ในระดับที่ดีมาก (ICC=0.999, p<0.001) จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าค่าความน่าเชื่อถือภายในตัวผู้วัดอยู่ในระดับที่ดีมากในด้านการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้งในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง ดังนั้นจากผลการทดลองของวิธีการวัดทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง เพื่อใช้ในการวางแผนการติดตามการรักษาทางกายภาพบำบัด หรือในการศึกษาวิจัยในทางกายภาพบำบัดได้ 
Author
605150026-5 Miss NIPHAPORN PUANGMALA [Main Author]
Pharmaceutical Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลระดับดี 
     Type of award รางวัลด้านกีฬาและสุขภาพ 
     Organiser สถาบันวิจัยและพัฒนา และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ 
     Date of awarding 25 มีนาคม 2565 
Attach file
Citation 0