Title of Article |
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ลักษณะทางกายภาพ และความเป็นพิษต่อเซลล์ของเบนทอไนต์ของไทย |
Date of Acceptance |
2 April 2022 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข. |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
31 |
Issue |
2 |
Month |
- |
Year of Publication |
2021 |
Page |
- |
Abstract |
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ลักษณะทางกายภาพของโครงสร้าง และศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ไตลิงของเบนทอไนต์ของไทย
วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-เบส ความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน พื้นที่ผิวจำเพาะ ดัชนีการพองตัว โครงสร้างผลึก หมู่ฟังก์ชัน ลักษณะโครงสร้างภายนอก และองค์ประกอบธาตุ รวมทั้งการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ไตลิงด้วยวิธีการเตตราโซเลียม ดาย
ผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าเบนทอไนต์ของไทยมีคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพคล้ายคลึงกับเบนทอไนต์ทั่วไป และมีประสิทธิภาพในการดูดซับสูงเนื่องจากมีค่าความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน พื้นที่ผิวจำเพาะ และดัชนีการพองตัวสูง นอกจากนี้เบนทอไนต์ไทยไม่พบการปนเปื้อนธาตุที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ไตลิงที่พบว่าเบนทอไนต์มีความเป็นพิษต่ำ โดยมีค่าความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ได้ร้อยละ 50 อยู่ที่ 66, 20 และ 15 mg/L เมื่อได้รับการทดสอบที่เวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ตามลำดับ
สรุป จากผลการศึกษาข้างต้นพบว่าเบนทอไนต์ของไทยมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการดูดซับสารที่มีประจุ และมีความปลอดภัยในการประยุกต์ใช้ในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้เบนทอไนต์ยังเป็นแหล่งแร่ธาตุเสริมที่จำเป็นต่อร่างกายสัตว์ |
Keyword |
คำสำคัญ: การดูดซับ, ความเป็นพิษต่อเซลล์, เบนทอไนต์, ปศุสัตว์, แร่ดินเหนียว |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|