2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การวิเคราะห์ลำดับการสอนในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา เรื่องเรขาคณิต ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 
Date of Distribution 29 January 2022 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 8 “2 ทศวรรษของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง : เหลียวหลัง แลหน้า เพื่อการปฏิบัติในชั้นเรียน (Rethinking for Classroom Practices)” 
     Organiser สมาคมคณิตศาสตรศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 
     Conference Place Online by Zoom 
     Province/State ลำปาง 
     Conference Date 29 January 2022 
     To 30 January 2022 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 107-116 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract หนังสือถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์สำคัญที่ช่วยให้เข้าใจว่าสิ่งใดเป็นความรู้ที่จะสอน (Takeuchi & Shinno, 2019) โดยหนังสือเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาจะนำเสนอเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ในสถานการณ์ปัญหา เพื่อให้นักเรียนสร้างความหมายจากสถานการณ์ปัญหาที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ก่อนจะเข้าสู่โลกทางคณิตศาสตร์ โดยหนังสือเรียนที่เน้น การแก้ปัญหาถือว่าเป็นแนวทางสำหรับครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2553) ซึ่งงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลำดับการสอนเรื่องเรขาคณิต ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 โดยงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ของผู้มีประสบการณ์และมีความเข้าใจใน การใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา จำนวนทั้งหมด 9 คน ประกอบไปด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน,นักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน, นักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 2 คน, ครูผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน, ครูประจำการ จำนวน 2 คน และนักศึกษาปฎิบัติการสอนในสถานศึกษา จำนวน 1 คน โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2559) ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน 2) การแสดงแทนด้วยสื่อกึ่งรูปธรรม และ 3)การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า ลำดับการสอน ประกอบด้วย 1) การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน คือ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และประสบการณ์/ความรู้เดิมของนักเรียน 2) การแสดงแทนด้วยสื่อกึ่งรูปธรรม จะอยู่ในรูปของสิ่งที่นักเรียนใช้ประกอบการลงมือแก้ปัญหา เช่น รูปภาพสำหรับให้นักเรียนได้สังเกตและจับต้องแทนวัตถุจริง เป็นต้น โดยขณะที่นักเรียนลงมือทำ จะเกิด การเคลื่อนย้ายจากโลกจริงมาสู่โลกคณิตศาสตร์ และ3) การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียน คือ รูปร่างและรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งส่วนหนึ่งคือคีย์เวิร์ด ที่เป็นคำอธิบายจากตัวนักเรียนเอง โดยนักเรียนจะเริ่มต้นเรียนรู้จากรูปทรง รูปร่าง หน้า ระนาบ และเส้น ตามลำดับ 
Author
615050130-8 Miss AREEYA CHAPITAK [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum