ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์ไซเลจร่วมกับกากมันสำปะหลังและมูลวัว
|
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
29 มีนาคม 2565 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
Smart Farm forwards to Smart Life |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
สถานที่จัดประชุม |
Zoom online |
จังหวัด/รัฐ |
|
ช่วงวันที่จัดประชุม |
29 มีนาคม 2565 |
ถึง |
29 มีนาคม 2565 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
- |
Issue (เล่มที่) |
- |
หน้าที่พิมพ์ |
219-226 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
บทความนี้ได้นำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์วิธีคริจจิงมาใช้ทำนายและวิเคราะห์ตัวแปรสำคัญต่อปริมาณก๊าซชีวภาพ และค่าความเข้มข้นมีเทนที่ผลิตได้ การเดินระบบผลิตก๊าซชีวภาพมีการเติมวัตถุดิบหลายชนิดผสมกันและเติมไม่สม่ำเสมอทำให้ความสัมพันธ์ของระบบมีรูปแบบไม่เป็นเชิงเส้นและมีความไม่แน่นอนสูง แบบจำลองคริจจิงมีประสิทธิภาพในการหาความสัมพันธ์ในรูปแบบไม่เป็นเชิงเส้นสูงและใช้งานง่าย จึงได้นำข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดก๊าซชีวภาพจากระบบอัตโนมัติของระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ และปริมาณเติมวัตถุดิบแต่ละชนิดมีหญ้าเนเปียร์ไซเลจ กากมันสำปะหลัง และมูลวัว นำมาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์วิธีคริจจิง พบว่าตัวแปรสำคัญต่อปริมาณก๊าซภาพชีวภาพและค่าความเข้มข้นมีเทนเรียงจากมากไปน้อย คือกากมันสำปะหลัง อุณหภูมิ หญ้าเนเปียร์ไซเลจ และมูลวัว และได้สอบเทียบแบบจำลองด้วยข้อมูลการทำงานจริงของระบบ แนวโน้มการตอบสนองของแบบจำลองทำนายค่าความเข้มข้นของมีเทนสามารถนำไปใช้ในการทำนายได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE 2.3-2.4% ของช่วงข้อมูลจริง แต่แนวโน้มการตอบสนองของแบบจำลองทำนายปริมาณก๊าซชีวภาพมีความคลาดเคลื่อนบางส่วน จึงได้ปรับปรุงข้อมูลให้มีความเหมาะสมก่อนนำมาสร้างแบบจำลอง พบว่าแนวโน้มการตอบสนองของแบบจำลองสามารถนำไปใช้ในการทำนายได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE 2.7-4.3% ของช่วงข้อมูลจริง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|