2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาผลของกระบวนการใช้แบบสอบวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาตามแนวคิดการออกแบบการประเมินที่ใช้หลักฐานเป็นสำคัญ  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 การสร้างสมรรถนะครูสู่อนาคตในยุคปกติใหม่ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏสกลนคร 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาราชภัฏสกลนคร 
     จังหวัด/รัฐ สกลนคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 กุมภาพันธ์ 2565 
     ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 43-56 
     Editors/edition/publisher คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบสอบวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาผลของกระบวนการใช้แบบสอบวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วนสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการสร้างแผนผังการออกข้อสอบ (Q-Matrix) ได้จำนวน12 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน กลุ่มผู้สอบในการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบและแบบทดสอบตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) จำนวน 30 คน และตามแนวคิดโมเดลวินิจฉัย DINA จำนวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเที่ยงตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คุณภาพตามโมเดลวินิจฉัยในด้านค่าการเดาและความสะเพร่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สามารถนำไปใช้ทดสอบกับนักเรียนเพื่อวินิจฉัยความรู้เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วนได้และผลจากการนำกระบวนการใช้แบบสอบวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา ไปใช้ในชั้นเรียน พบว่า การนำไปใช้ ของครูผู้สอน ที่จบเอกคณิตศาสตร์ และไม่ได้จบเอกคณิตศาสตร์ มีผลการใช้ไม่แตกต่างกัน ทั้งด้านความเหมาะสม ด้ามความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง และด้านความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปวินิจฉัยนักเรียนในเรื่องจุดแข็งและจุดอ่อนได้อย่างเหมาะสม  
ผู้เขียน
635050107-5 น.ส. อิสราพร เรียนพิษ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0