2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาผลกระทบการสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ครั้งที่ 3 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
     จังหวัด/รัฐ สกลนคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 กุมภาพันธ์ 2565 
     ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 898-911 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้วิจัยได้กำหนดตามความเหมาะสมเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์ที่ครอบคลุมความหลากหลายในประชากรให้ได้มากที่สุดเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันเพื่อให้ครอบคลุมปัญหาและคำถามในการวิจัย ผู้วิจัยจึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ จำนวน 14 รูป/คน ประกอบด้วย นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ที่เคยสอบธรรมศึกษา จำนวน 6 คน ครู/อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 5 ปี ในการทำงานเกี่ยวกับการสอบธรรมศึกษา จำนวน 5 รูป/คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์จัดกลุ่มข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูล และการสร้างข้อสรูปแบบอุปนัย (Analytic Induction) ผลการวิจัยพบว่า 1. การสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า สร้างผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้เรียน บุคลากรครู และผู้บริหารโรงเรียน 1) ผลกระทบทางบวก (1) เกิดมาตรฐานของการสอบธรรมศึกษา (2) ผู้เรียนได้รับโอกาสเพิ่มขึ้นจากการใช้ผลการสอบธรรมศึกษา ในบางโรงเรียนที่มีการใช้ผลการสอบธรรมศึกษา เป็นเกณฑ์พิจารณาเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาและใช้เป็นเกณฑ์การให้คะแนนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาสังคมศึกษา (3) โรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าสอบและมีผู้สอบผ่านมากที่สุดได้รับการยกย่องมีการมอบเกียรติบัตรว่าเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ 2) ผลกระทบทางลบ 1) ข้อสอบ ไม่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนและมีเนื้อหาต้องท่องจำให้ได้ก่อนจึงจะสามารถเข้าใจ 2) การเตรียมตัวสอบที่หนักแต่คะแนนสอบไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ผลการสอบรายบุคคลจะนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง 3)การติวข้อสอบธรรมศึกษาที่ต้องใช้ปัจจัยและทรัพยากรเพิ่มขึ้น 2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีประเด็นสำคัญดังนี้ (1) การนำผลสอบธรรมศึกษา ไปใช้ในการเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย (2) การส่งเสริมและพัฒนาระบบการสอบธรรมศึกษาให้ทันสมัย (3) การพัฒนาหลักสูตธรรมศึกษา การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล และ (4) กำหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจในการสอบธรรมศึกษา คำสำคัญ : ผลกระทบ ; การสอบธรรมศึกษา  
ผู้เขียน
635050135-0 พระ สุทธิพงศ์ หาชัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0