2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงโปงลาง สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 10 จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 พฤษภาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ที่มีการเก็บข้อมูลทั้งที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาสภาพความต้องการ การฝึกปฏิบัติโปงลาง ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 10 ขอนแก่น และเพื่อพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงโปงลางของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 10 ขอนแก่น โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนก่อนดำเนินการทดลอง เพื่อคัดเลือกผู้เรียนเครื่องดนตรีโปงลางกลุ่มตัวอย่างที่มีความสนใจในการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีโปงลางจากแบบสำรวจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 2) ขั้นตอนในการดำเนินการทดลองชุดแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงโปงลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 10 ขอนแก่น จำนวน 15 คน ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการการฝึกปฏิบัติการบรรเลงโปงลาง 2) ชุดแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงเครื่องดนตรีโปงลาง 3) แบบทดสอบประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงเครื่องดนตรีโปงลาง และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า ชุดแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงโปงลางที่พัฒนาขึ้น ใช้เวลาทั้งหมด 10 สัปดาห์ ประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ 1) การศึกษาพื้นฐานของเครื่องดนตรีโปงลาง 2) การอ่านโน้ตไทย 3) การเรียนรู้เรื่องการจับไม้โปงลาง และทำความคุ้นเคยกับเครื่องดนตรีโปงลาง 4) ฝึกท่องโน้ตลายโปงลาง 5) ฝึกอ่านโน้ตและปรบมือให้เข้ากับจังหวะของลายนกไซบินข้ามทุ่ง และ 6) กิจกรรมการฝึกบรรเลงเครื่องดนตรีโปงลางในลายโปงลาง และลายเพลงนกไซบินข้ามทุ่งตามแบบฝึกหัด จากดำเนินการตามชุดแบบฝึกปฏิบัติ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.9/89.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อชุดแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงโปงลาง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.76 ซึ่งอยู่ในระดับเกณฑ์มีความพึงพอใจมากที่สุด ดังนั้นสรุปได้ว่า การใช้ชุดแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงเครื่องดนตรีโปงลางจากการทดสอบของกลุ่มตัวอย่าง ทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดประสิทธิภาพในเรียนรู้ เกิดทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีโปงลางสูงสุด และมีความพึงพอใจในชุดแบบฝึกปฏิบัติการบรรเลงเครื่องดนตรีโปงลาง  
     คำสำคัญ การพัฒนา; โปงลาง; เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี 
ผู้เขียน
615220014-4 นาย จิรกิตต์ อันพิมพ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0