ชื่อบทความ |
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
|
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
5 มิถุนายน 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี |
ISBN/ISSN |
ดี |
ปีที่ |
8 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม - เมษายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
- |
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 291 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน การเก็บข้อมูลมี 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 0.977 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าสถิติค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อหาแนวทางในการจัดการเรียนรู้ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษา ในภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับสภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับมาก (X= 3.60) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.70) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระดับสภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน โดยความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษาภาพรวม พบว่าลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลำดับที่ 1 คือ การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ (PNIModified = 0.375) ลำดับที่ 2 คือ การมีส่วนร่วมกับสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน (PNIModified = 0.371) และลำดับที่ 3 คือ การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (PNIModified = 0.316)
2) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ในสถานศึกษา ตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาที่สำคัญ 3 ด้าน ดังนี้ 1) การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาควรมีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านพฤติกรรม ทักษะ และสมรรถนะของผู้เรียนให้สอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตใหม่ ครูและผู้เรียนออกแบบเครื่องมือในการประเมิน และร่วมกันประเมินผลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ประเมินผ่านการสะท้อนคิดและการถอดบทเรียนจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ 2) การมีส่วนร่วมกับสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ผู้ปกครองและชุมชนควรมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ทั้งสร้างบรรยากาศที่บ้านให้เป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ให้นักเรียนได้ลงพื้นที่ไปศึกษาและเรียนรู้ด้วยตัวเอง 3) การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาควรพัฒนาสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้ปลอดภัยสำหรับครูและนักเรียน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา พัฒนาแฟล็ตฟอร์มการเรียนรู้แบบออนไลน์ สื่อและเทคโนโลยี และระบบอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษาให้พร้อมสำหรับการจัดการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด
|
คำสำคัญ |
การจัดการเรียนรู้, ฐานวิถีชีวิตใหม่, การจัดการเรียนรู้ตามฐานวิถีชีวิตใหม่ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|