|
Publication
|
Title of Article |
แนวทางการเสริมสร้างนวัตกรรมทางสังคมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก |
Date of Acceptance |
6 June 2022 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
22 |
Issue |
3 |
Month |
กรกฎาคม - กันยายน |
Year of Publication |
2022 |
Page |
|
Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของนวัตกรรมทางสังคมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 2) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างนวัตกรรมทางสังคมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก เป็นวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสมผสานโดยเริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่าง 20 เท่าจากโมเดลสมมติฐาน จึงได้กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 240 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียนคือผู้บริหารและครู รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 480 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 หาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.96 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ Mplus ใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง แล้วต่อด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กที่มีนวัตกรรมทางสังคมที่โดดเด่น จำนวน 3 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ แบบศึกษาเอกสาร แบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบนวัตกรรมทางสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก พบว่ามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ ดังนี้ 𝑥2= 112.852, Df = 91, P-Value = 0.0601, RMSEA = 0.014, SRMR = 0.014, CFI = 0.999, TLI = 0.998
2. แนวทางเสริมสร้างนวัตกรรมทางสังคมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก คือ การส่งเสริมสถานศึกษาให้มีผลิตผลเชิงรูปธรรมที่มีความแปลกใหม่ ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ใช้สถานศึกษาเป็นฐานในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่สังคม และส่งเสริมสถานศึกษาใช้พื้นที่ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน โดยแนวทางดังกล่าวมีผลการประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด |
Keyword |
นวัตกรรมทางสังคม, โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก, แนวทางการเสริมสร้าง |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
true |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|
|
|
|
|
|