ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
แนวทางการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ
ในศูนย์การศึกษาพิเศษเครือข่ายที่ 9
THE GUILDLINES FOR COLLABORATIVE NETWORK TO ENHANCE
EARLY INTERVENTION SERVICES OF
SPECIAL EDUCATION CENTER 9
|
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
27 พฤษภาคม 2565 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมทางวิชาการการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ (ICEAHE2022) |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
Onsite: ห้องประชุมสายสุรีย์จุติกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Online: Zoom Application and Facebook Live |
จังหวัด/รัฐ |
หนองคาย |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
27 พฤษภาคม 2565 |
ถึง |
27 พฤษภาคม 2565 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2565 |
Issue (เล่มที่) |
2 |
หน้าที่พิมพ์ |
319-331 |
Editors/edition/publisher |
รศ.ดร. สุมาลี ชัยเจริญ |
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 205 คน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยตารางเครจซี และมอร์แกน และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item- Objective Congruence Index: IOC) ผลการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00
2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ ตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha coefficient: ∝) ของครอนบาค (Cronbach) พบว่าแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.890 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กพิการ การคัดกรองประเภทความพิการ การประเมินความสามารถพื้นฐาน การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม การประเมินความก้าวหน้า และการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ รวม 20 ตัวชี้วัด สภาพปัจจุบันของการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.11) และสภาพที่พึงประสงค์ของการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.70) 2) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น พบว่า องค์ประกอบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กพิการ(PNIModified = 1.153) ลำดับที่ 2 ได้แก่ ด้านการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม(PNIModified = 1.152) และลำดับที่ 3 ได้แก่ ด้านการคัดกรองประเภทความพิการ (PNIModified = 1.150) |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
นานาชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|