2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบเปิดโดยใช้การ์ดเกมดิจิทัล เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน ที่มีต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 ธันวาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (EDKKUJ) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 2673-0847 
     ปีที่ 44 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 68-83 
     บทคัดย่อ ปัจจุบันการนำเสนอการเรียนรู้สาระเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์นั้นมักไม่มีความน่าสนใจ ส่งผลให้นักเรียนไม่มีความใส่ใจในการเรียนรู้ ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจและอาจเสริมแรงจูงใจในการเรียนให้กับนักเรียนยุคใหม่ได้ บทความนี้รายงานผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบเปิดโดยใช้การ์ดเกมดิจิทัล เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน ที่มีต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 86 คน ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่มีการทดสอบเฉพาะหลังเรียนและมีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดแรงจูงใจต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ จากนั้นจึงนำคะแนนการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์สถิติโดยใช้ MANOVA ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบเปิดโดยใช้การ์ดเกมดิจิทัลมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ชีววิทยามากกว่ากลุ่มนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ตามวิถีปกติของโรงเรียนอย่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจด้านประสิทธิภาพตนเองเป็นด้านย่อยที่มีค่ามากที่สุดและน้อยที่สุดตามลำดับ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า ถึงแม้ว่าการพัฒนาแรงจูงใจในการเรียนรู้วิชาชีววิทยาจะสามารถจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบปกติได้ แต่การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบเปิดผ่านการ์ดเกมดิจิทัลนั้น สามารถสร้างเสริมแรงจูงใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาได้ดีกว่า ดังนั้นจึงสามารถเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาแรงจูงใจในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดี 
     คำสำคัญ การ์ดเกมดิจิทัล การสังเคราะห์โปรตีน วิทยาศาสตร์สืบเสาะ การเรียนรู้สืบเสาะแบบเปิด แรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ 
ผู้เขียน
625050128-6 น.ส. สุนันทา สุดใจ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0