2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาภูมิทัศน์ภาษาศาสตร์ของตลาดท่าเสด็จ จังหวัดหนองคาย  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 20 พฤษภาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 104 - 137 
     บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาบนป้ายสาธารณะและวิเคราะห์หน้าที่ของภาษาที่ปรากฏในตลาดท่าเสด็จ จังหวัดหนองคาย งานวิจัยนี้ ใช้แนวคิดภูมิทัศน์ภาษาศาสตร์ (Linguistic Landscape – LL) ของ Landry and Bourhis (1997) ในการวิเคราะห์ภาษาที่ปรากฏและหน้าที่ของภาษา โดย เก็บข้อมูลจากป้ายสาธารณะทุกประเภททั้งป้ายของภาครัฐและป้ายของภาคเอกชนทั้งหมดจำนวน 558 ป้าย ผลการศึกษาพบว่าภาษาที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ตลาดท่าเสด็จมีทั้งหมด 12 ภาษา ภาษาไทยพบมากที่สุดและเป็นภาษาหลักของพื้นที่ รองลงมาตามลำดับคือภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน ภาษาเกาหลี ภาษาพม่า ภาษาเขมร และภาษาแอฟริกานส์ ภาษาบริเวณตลาดท่าเสด็จทำหน้าที่ในการให้ข้อมูล (Informational function) มากกว่าหน้าที่ในเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic function) โดยหน้าที่ในการให้ข้อมูลคิดเป็นร้อยละ 67.59 และหน้าที่ในเชิงสัญลักษณ์คิดเป็นร้อยละ 32.41 ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าตลาดท่าเสด็จเป็นพื้นที่พหุภาษา เนื่องด้วยปัจจัยของพื้นที่ตลาดท่าเสด็จมีลักษณะเป็นพื้นที่การท่องเที่ยว ประกอบกับเป็นพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการค้าขาย ส่งออกสินค้าและบริการ จึงมีผู้มาใช้บริการ ต่าง ๆ จากประเทศเพื่อนบ้าน  
     คำสำคัญ ภูมิทัศน์ภาษาศาสตร์ ตลาดท่าเสด็จ ป้ายสาธารณะ 
ผู้เขียน
625080002-0 น.ส. จารญา อนันตะวัน [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0