2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต3 A CONFIRMATORY FACTOR ANALYSIS OF DIGITAL LEARNING CULTURE FOR PRIMARY SCHOOL UNDER CHAIYAPHUM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 พฤษภาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 พฤษภาคม 2565 
     ถึง 27 พฤษภาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 604 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้ของวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 270 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.967 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิงโดยโปรแกรม M-plus โดยมีผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้วัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 พบว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ มีจำนวน 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การฝึกอบรมบุคลากรแบบผสมผสานทางดิจิทัล มี 2 ตัวบ่งชี้ 5 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) ค่านิยมการทำงานร่วมกันผ่านสังคมออนไลน์ มี 2 ตัวบ่งชี้ 5 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) สมรรถนะเชิงของบุคลากร มี 3 ตัวบ่งชี้ 8 พฤติกรรมบ่งชี้ 4) ภาวะผู้นำดิจิทัล มี 3 ตัวบ่งชี้ 8 พฤติกรรมบ่งชี้ 5) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงดิจิทัล มี 3 ตัวบ่งชี้ 7 พฤติกรรม รวมองค์ประกอบของวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 มีจำนวน 5 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ 33 พฤติกรรมบ่งชี้ 2. ผลการทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้วัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า = 56.948, df = 43, / df = 1.324, P-Value = 0.0754, RMSEA = 0.035, SRMR = 0.023, CFI = 0.996, TLI = 0.992  
ผู้เขียน
635050053-2 น.ส. รติยากร คชา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0