ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
27 พฤษภาคม 2565 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษา และการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 ประจาปี 2565 The 2nd National and International Conference on Educational Administration and Higher Education (ICEAHE2022) |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
26 พฤษภาคม 2565 |
ถึง |
27 พฤษภาคม 2565 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
79-92 |
Editors/edition/publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่และระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3 กาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ Krejcie and Morgarn และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง จานวน 318 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 31 คน และครู 287 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป เพื่อหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าสุด ได้แก่ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอ และระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความต้องการความสัมพันธ์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าสุด ได้แก่ ด้านความต้องการด้านการดารงชีวิต 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.606 - 0.823 มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกด้าน เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รายด้าน พบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ที่มีความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารสร้างความเข้าใจ และด้านที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ การสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ได้รับรางวัล |
ชื่อรางวัล |
รางวัลนำเสนอบทความดีเด่น |
ประเภทรางวัล |
รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ |
หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล |
27 พฤษภาคม 2565 |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|