2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ C3 Framework ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง(Flipped Classroom) รายวิชา ส 32103 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมตลาดใหญ่วิทยา จังหวัดขอนแก่น  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 มิถุนายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 10 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง โดยการจัดการเรียนรู้แบบ C3 Framework ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง(Flipped Classroom) ในรายวิชา ส 32103 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมตลาดใหญ่วิทยา โดยนักเรียนมีคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมากขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ C3 Framework ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง(Flipped Classroom) ในรายวิชา ส 32103 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมตลาดใหญ่วิทยา โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมตลาดใหญ่วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ได่แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ C3 Framework เทคนิคห้องเรียนกลับทาง(Flipped Classroom) จำนวน 9 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกผลหลังจากการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบประเมินความเชื่อมั่นในตนเองท้ายวงจร ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของ Likert แบ่งระดับเป็น 5 ระดับ รวมทั้งหมด 20 ข้อ และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร รูปแบบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 3 วงจร วงจรละ 15 ข้อ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบประเมินความเชื่อมั่นในตนเอง ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของ Likert แบ่งระดับเป็น 5 ระดับ โดยทำการประเมิน 4 ด้าน รวมทั้งหมด 32 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีจำนวน 45 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยการจัดการเรียนรู้แบบ C3 Framework ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง(Flipped Classroom) ในรายวิชา ส 32103 สังคมศึกษา นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองเฉลี่ย 4.37 อยู่ในระดับ มาก และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือนักเรียนมีคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมากขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยการจัดการเรียนรู้แบบ C3 Framework ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง(Flipped Classroom) ในรายวิชา ส 32103 สังคมศึกษา มีนักเรียนได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 34.80 คิดเป็น ร้อยละ 77.33 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป  
     คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบ C3 Framework,ความเชื่อมั่นในตนเอง,เทคนิคห้องเรียนกลับทาง 
ผู้เขียน
635050082-5 นาย ทิวัตถ์ นุ่มมีศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0