2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์เลเยอร์เมกะดิไอด์สำหรับการสลายสีย้อม 
Date of Distribution 23 June 2022 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3 
     Organiser คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     Conference Place อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (รูปแบบการนำเสนองานออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) 
     Province/State เชียงใหม่ 
     Conference Date 17 March 2022 
     To 17 March 2022 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 376-389 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract งานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์อนุภาคแคดเมียมซัลไฟด์และอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์อัตราส่วนโมลของอะลูมิเนียมต่อแคดเมียมเท่ากับ 3 ต่อ 1 ในเลเยอร์เมกะดิไอด์ โดยปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนไอออนของ Cd2+ และ/หรือ Al3+ และปฏิกิริยาการเตรียมโลหะซัลไฟด์ภายในช่องว่างระหว่างเลเยอร์ของเมกะดิไอด์และทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ของวัสดุไฮบริดที่เตรียมได้ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์สำหรับผง ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี ยูวีสิเบิลและโฟโตลูมิเนสเซนส์ สเปกโทรสโกปี การดูดซับและการคายซับของแก๊สไนโตรเจน และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน จากรูปแบบการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์สำหรับผงของวัสดุไฮบริดที่สังเคราะห์ได้ พบว่า มีการขยายของช่องว่างระหว่างเลเยอร์ประมาณ 0.42 นาโนเมตร จากอินฟราเรดสเปกตราพบพีคที่สอดคล้องกับการสั่นของ Cd-S ในช่วงเลขคลื่น 705-708 cm-1 จากการขยายของเลเยอร์ และการปรากฏของพีคการสั่นของ Cd–S แสดงว่าเกิดอินเตอร์คาเลชันของอนุภาคแคดเมียมซัลไฟด์และอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์ในเลเยอร์เมกะดิไอด์ และรูปถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน ยังช่วยยืนยัน การเกิดอนุภาคของแคดเมียมซัลไฟด์ที่มีกระจายตัวที่ดีในเลเยอร์ จากสเปกตรัมของการดูดกลืนแสงและ/หรือสเปคตรัมการเปล่งแสง พบว่า ค่าเริ่มต้นของการดูดกลืนแสงและค่าการเปล่งแสงที่ความยาวคลื่นสูงสุดของวัสดุไฮบริดที่เตรียมได้เลื่อนไปที่ความยาวคลื่นต่ำลง เมื่อเปรียบเทียบกับแคดเมียมซัลไฟด์แสดงว่าเกิดอนุภาคแคดเมียมซัลไฟด์ขนาดเล็กในวัสดุไฮบริด ซึ่งเป็นผลจากปรากฏการณ์ควอนตัมคอนไฟน์เมนต์ การศึกษาการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงในการสลายสีย้อมโรดามีน-6-จี ภายใต้แสงที่ตามองเห็น โดยใช้แคดเมียมซัลไฟด์ในเมกะดิไอด์และอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์ในเมกะดิไอด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าวัสดุไฮบริดมีประสิทธิรูปในการสลายสีย้อมได้ดีกว่าการใช้แคดเมียมซัลไฟด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและยังพบว่าแคดเมียมซัลไฟด์ในเมกะดิไอด์ และอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์ในเมกะดิไอด์ สามารถสลายสีย้อมโรดามีน-6-จี ได้ถึงร้อยละ 13.8 และ 15.9 ตามลำดับ ในขณะที่แคดเมียมซัลไฟด์บริสุทธิ์สามารถสลายสีย้อมโรดามีน-6-จี ได้เพียงร้อยละ 6.1 ภายหลังฉายแสงช่วงที่ตามองเห็นเป็นเวลา 360 นาที ในขณะที่การศึกษาการสลายสีย้อมคองโกเรดพบว่าแคดเมียมซัลไฟด์สามารถสลายสีย้อมได้ดีกว่าวัสดุไฮบริด เนื่องจากสีย้อมมีประจุเป็นลบเช่นเดียวกันเลเยอร์เมกะดิไอด์ทำให้สีย้อมไม่สามารถดูดซับไว้บนพื้นผิวของวัสดุไฮบริดได้ส่งผลให้ประสิทธิรูปในการย่อยสลายลดลง 
Author
605020099-3 Miss PATTAREEPORN THONG-NGEN [Main Author]
Science Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title การนำเสนอผลงานวิจัยระดับดีเยี่ยม ประเภทการนำเสนอแบบโปสเตอร์ กลุ่มเคมี และนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     Date of awarding 17 มีนาคม 2565 
Attach file
Citation 0