2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาองค์ประกอบความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 พฤษภาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 พฤษภาคม 2565 
     ถึง 28 พฤษภาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 243-255 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มประชากรคือ บุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 1,207 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและ บุคลากรในโรงเรียน จำนวน 315 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ใช้การวิเคราะห์ค่าสถิตพื้นฐานและองค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ M-plus 7.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ความก้าวหน้าและความพึงพอใจในอาชีพ การมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี การพัฒนาตนเอง สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ความสัมพันธ์กับสังคม และ ความสมดุลในการใช้ชีวิต 2) ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าดัชนีสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ X2= 53.575, df = 39, X2/df = 1.374, P-Value =0.060, RMSEA = 0.034,SRMR = 0.030, CFI = 0.996, TLI = 0.989 แสดงว่า โมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  
ผู้เขียน
635050054-0 นาย วนพงษ์ สุดตา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0