2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบความเที่ยงและความตรงตามเกณฑ์ในการตรวจให้คะแนนของผู้ตรวจ ที่มีคุณลักษณะต่างกันของแบบสอบอัตนัยสำหรับวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3; The Comparison Of The Reliability And Validity Of The Raters' Scoring Criteria With Different Characteristics Raters Of Essay Tests For Measuring Scientific Competence Of Students In Grade 9  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 มิถุนายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Journal of Educational Measurement Mahasarakham University : JEM-MSU) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN 2651-1444 
     ปีที่ 29 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความเที่ยงของการตรวจการให้คะแนนของแบบสอบอัตนัยสำหรับวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายใต้คุณลักษณะของผู้ตรวจที่แตกต่างกัน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความตรงตามเกณฑ์การให้คะแนนแบบองค์รวม (Holistic Scoring rubric) ของแบบสอบอัตนัยสำหรับวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายใต้คุณลักษณะของผู้ตรวจที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน และกลุ่มผู้ตรวจให้คะแนน ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มผู้ตรวจให้คะแนนที่เป็นผู้ตรวจที่มีคุณวุฒิตรงเอก จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้ตรวจให้คะแนนที่เป็นผู้ตรวจที่มีคุณวุฒิไม่ตรงเอก จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบอัตนัยวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 สถานการณ์ รวม 9 ข้อคำถาม 2) เกณฑ์การให้คะแนนแบบองค์รวม (Holistic Scoring rubric) วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงโดยใช้โปรแกรม EduG ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาความสอดคล้องของผลการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ตรวจ พิจารณาโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intra-Class Correlation: ICC) ที่มีความสอดคล้องกันโดยเฉลี่ย พบว่าความสอดคล้องของผลการตรวจให้คะแนน ทั้ง 3 สถานการณ์ 9 ข้อ อยู่ในระดับสอดคล้องต่ำไปจนถึงระดับดีมาก ทั้งกลุ่มผู้ตรวจให้คะแนนที่เป็นกลุ่มผู้ตรวจที่มีคุณวุฒิตรงเอก และกลุ่มผู้ตรวจที่มีคุณวุฒิไม่ตรงเอก 2) ค่าความตรงตามเกณฑ์การให้ตรวจให้คะแนนโดยพิจารณาจากความเห็นพ้อง (Rater Agreement) ของผลการตรวจให้คะแนนของผู้ตรวจ (x) กับเกณฑ์มาตรฐาน (y) พบว่าในกลุ่มผู้ตรวจที่มีคุณวุฒิตรงเอก มีค่าความเห็นพ้อง ตั้งแต่ร้อยละ 14 ถึง ร้อยละ 84 และในกลุ่มผู้ตรวจที่มีคุณวุฒิไม่ตรงเอก มีค่าความเห็นพ้องตั้งแต่ ร้อยละ 27 ถึง ร้อยละ 89 3) ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของรูปแบบการตรวจข้อสอบบางข้อของผู้สอบทุกคน [(p x ( r : i )] มีค่าสูงกว่า รูปแบบการตรวจทุกข้อของผู้สอบทุกคน [p x i x r] ทั้งกลุ่มผู้ตรวจที่มีคุณวุฒิตรงเอก และกลุ่มผู้ตรวจที่มีคุณวุฒิไม่ตรงเอก  
     คำสำคัญ เกณฑ์การตรวจให้คะแนนแบบองค์รวม, ดัชนีความเห็นพ้องของการตรวจ, ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, ค่าความเชื่อมั่นของผลการตรวจ  
ผู้เขียน
635050167-7 น.ส. พนิดา จังหวะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0