2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สังคีตลักษณ์ และปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย ในราชอาณาจักรกัมพูชา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 กรกฎาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ 
     ISBN/ISSN 2586-8489 
     ปีที่ 42 
     ฉบับที่
     เดือน -
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า
     บทคัดย่อ บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสังคีตลักษณ์วัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย 2. เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย และ 3. เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย ในราชอาณากัมพูชาผลการวิจัยพบว่า 1) สังคีตลักษณ์ทางวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย พบว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดมี 2 สายมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย โดยตั้งสายแบบคู่ 5 คือสายเอกเสียง โด และทายทุ้มคือเสียงซอล รูปแบบของบทเพลงในการบรรเลงเป็นบทเพลงสั้น ๆ ไม่มีการบรรเลงซ้ำวนไปวนมา ประโยคเพลงมีทั้งประโยคถามและประโยคตอบ บันไดเสียงจัดอยู่ในกลุ่ม G Dorian#11 จังหวะในการบรรเลงมีลักษณะสั้น-ยาว, ช้า-เร็ว แบบไม่คงที่ 2) ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ยพบว่ามีความสัมพันธ์กัน 3 สำนักทางดนตรีที่ได้รับความนิยม ได้แก่ลักษณะการบรรเลงแบบ กง ไณ(គង់ ណៃ) ลักษณะการบรรเลงแบบ ปราชญ์ ฌวน (ទ្ធាចារ្យប្រាជ្ញឈួន) และลักษณะการบรรเลงแบบ มอม ซอน (ម៉ម សុន) และ 3) บทบาทหน้าที่ของเครื่องดนตรีจาเป็ยมีลักษณะเป็นการดำเนินทำนอง เพื่อเป็นโครงสร้างหลักของเพลง มีการดีดเก็บทำนอง สลับการดีดกรอทำนอง และใช้บรรเลงในโอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมของคนในสังคมเขมร 
     คำสำคัญ สังคีตลักษณ์, ปฏิสัมพันธ์, ดนตรีจาเป็ย 
ผู้เขียน
607220018-9 นาย ธัญญะ สายหมี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0