2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การตรวจสอบวิธีวิเคราะห์ HPLC ของตัวบ่งชี้ฟลาโวนอยด์และไกลโคไซด์ของไม้เท้ายายม่อม HPLC METHOD VALIDATION FOR FLAVONOIDS AND GLYCOSIDE BIOMARKERS OF CLERODENDRUM PETASITES 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 กรกฎาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ SEAT ครั้งที่ 2  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     สถานที่จัดประชุม Online 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดมหาสารคาม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 กรกฎาคม 2565 
     ถึง 27 กรกฎาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 45-46 
     Editors/edition/publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     บทคัดย่อ Introduction: Clerodendrum petasites (CP) has been long used as Thai traditional medicine in treating fever. This study aims to develop HPLC condition and validation for flavonoids and glycoside biomarkers: rosmarinic acid, hispidulin, quercetin and verbascoside. These substances are interesting to use as biomarkers due to their wide range of biological properties. Method: development of HPLC method used C18 column and UV-detector at 330 nm. The mobile phase was adjusted by acetonitrile and acetic acid solution in a gradient mode. Linearity was evaluated over the specified range with six concentrations. Verbascoside concentrations were prepared between 6.25 - 200 µg/ml, rosmarinic acid 3.125 - 100 µg/ml, quercetin and hispidulin 1.56 - 50 µg/ml. Precision was represented by the relative standard deviation (RSD). Accuracy was analyzed in % recovery using standard addition by preparing the standard with the exact quantity added to the sample. Last, the limit of detection (LOD) and limit of quantitation (LOQ) were measured from the HPLC signal of the sample that known the concentration and the signal of the blank. Result: HPLC mobile phase consisted of acetonitrile 19 – 80 % and 2.5 % acetic acid with flow rate 0.5 – 1 ml/min. The R2 linearities of verbascoside, rosmarinic acid, quercetin and hispidulin were 0.9996, 0.9986, 0.9990 and 0.9997, respectively. % RSD Intra-day precisions of verbascoside, rosmarinic acid, quercetin and hispidulin were 1.11, 1.41, 1.22 and 0.70. % RSD Inter-day precisions of verbascoside, rosmarinic acid, quercetin and hispidulin were 2.14, 3.04, 1.2 and 1.20 . % Recovery of verbascoside, rosmarinic acid, quercetin and hispidulin were 96.47, 97.5, 99.82 and 97.9. The analysis of LOD of verbascoside, rosmarinic acid, quercetin and hispidulin were 2.30, 1.62, 0.84, and 0.48 µg/ml. Finally, the limits of quantitation of verbascoside, rosmarinic acid, quercetin and hispidulin were 7.66, 5.40, 2.80, and 1.60 µg/ml, respectively. Conclusion: Linearity, precision, and accuracy of all biomarkers contained within the standard acceptable range. Therefore, CP markers can be evaluated by this method, and the technique can be developed as a guideline for the quality control of the herb. บทนำ: ไม้เท้ายายม่อม (Clerodendrum petasites, CP) เป็นสมุนไพรไทยที่ใช้ในการรักษาไข้มายาวนาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาวะ HPLC และตรวจสอบวิธีวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพฟลาโวนอยด์และไกลโคไซด์ ได้แก่ กรดโรสมารินิก ฮิสพิดูลิน เควอเซติน และเวอร์บาสโคไซด์ สารเหล่านี้น่าสนใจที่จะใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของพืชเนื่องจากมีคุณสมบัติทางชีวภาพที่หลากหลาย วิธีดำเนินการวิจัย: พัฒนาวิธี HPLC โดยใช้คอลัมน์ C18 และเครื่องตรวจจับรังสียูวีความยาวคลื่น 330 นาโนเมตร เฟสเคลื่อนที่ปรับโดยสารละลายอะซิโตไนไทรล์และกรดอะซิติกในโหมดเกรเดียน ความเป็นเส้นตรงประเมินในช่วงความเข้มข้น 6 ระดับ โดยเวอร์บาสโคไซด์ถูกเตรียมที่ 6.25 - 200 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร, กรดโรสมารินิก 3.125 - 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร, เควอซิทินและฮิสพิดูลิน 1.56 - 50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ความเที่ยงตรงของวิธีวิเคราะห์แสดงโดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (RSD) ความแม่นยำของวิธีวิเคราะห์แสดงด้วย % Recover โดยใช้การเติมสารมาตรฐานด้วยปริมาณที่แน่นอนลงในตัวอย่าง สุดท้ายวิเคราะห์ขีดจำกัดของการตรวจจับ (LOD) และขีดจำกัดของปริมาณ (LOQ) จากสัญญาณ HPLC ของตัวอย่างเทียบกับ blank ผลการวิจัย: เฟสเคลื่อนที่ HPLC ประกอบด้วย acetonitrile 19 - 80% และ 2.5% acetic acid โดยมีอัตราการไหล 0.5 – 1 ml/min ความเป็นเส้นตรงเมื่อวิเคราะห์สารมาตรฐาน verbascoside, rosmarinic acid, quercetin และ hispidulin พบว่า R2 เท่ากับ 0.9996, 0.9986, 0.9990 และ 0.9997 ตามลำดับ ความเที่ยงตรงของวิธีวิเคราะห์พบว่า %RSD ของ intra-day ของสารมาตรฐาน verbascoside, rosmarinic acid, quercetin และ hispidulin เท่ากับ 1.11, 1.41, 1.22 และ 0.70 ตามลำดับ ความเที่ยงตรง inter-day ของ verbascoside, rosmarinic acid, quercetin และ hispidulin คือ 2.14, 3.04, 1.2 และ 1.20 % นอกจากนี้ % recover ของ verbascoside, rosmarinic acid, quercetin และ hispidulin เท่ากับ 96.47, 97.5, 99.82 และ 97.9% ในส่วนของ LOD ของ verbascoside, rosmarinic acid, quercetin และ hispidulin คือ 2.30, 1.62, 0.84 และ 0.48 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ LOQ คือ 7.66, 5.40, 2.80 และ 1.60 µg/ml µg/ml ตามลำดับ สรุปผล: วิธีการวิเคราะห์สารมาตรฐานด้วย HPLC จากงานวิจัยนี้แสดงความเป็นเส้นตรง ความเที่ยงตรง ความแม่นยำอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นวิธีการที่พัฒนาขึ้นนี้จึงสามารถใช้ประเมินตัวบ่งชี้ทางชีวภาพฟลาโวนอยด์และไกลโคไซด์ของไม้เท้ายายม่อม และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพสมุนไพรต่อไป 
ผู้เขียน
587150002-1 น.ส. ธิดารัตน์ ขวัญสวัสดิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ดีเด่น 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 27 กรกฎาคม 2565 
แนบไฟล์
Citation 0