ชื่อบทความ |
ความรู้สึกไม่สบายทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ของเกษตรกรชาวสวนยาง |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
3 สิงหาคม 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
ISSN 2672-9636 |
ปีที่ |
23 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
เมษายน-มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2565 |
หน้า |
10 |
บทคัดย่อ |
เกษตรกรชาวสวนยาง มีลักษณะงานที่ต้องมีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ และท่าทางที่หลากหลายเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามร่างกาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้สึกไม่สบายของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของเกษตรกรชาวสวนยาง กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรชาวสวนยางจำนวน 60 คน ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการสุ่มตัวอย่างแบบคลัสเตอร์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้สึกไม่สบายของร่างกาย และแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์แบบทั้งร่างกาย (REBA) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความรู้สึกไม่สบายสูงสุดที่บริเวณแขนท่อนล่าง ร้อยละ 83.30 รองลงมาที่บริเวณ หัวไหล่ และมือและข้อมือ ร้อยละ 81.70 และบริเวณหลังส่วนบน ร้อยละ 80.00 ตามลำดับ มีระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูงสุดที่ระดับสูงมาก ร้อยละ 45.00 หมายถึงการทำงานมีความเสี่ยงสูงมากต้องการการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานในทันที และพบว่าระดับความรู้สึกไม่สบายทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ (R=0.879, p-value<0.001) |
คำสำคัญ |
ความไม่สบายของกล้ามเนื้อ, ความเสี่ยงทางการยศาสตร์, เกษตรกร |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|