2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สิงคาลกสูตรในกลอนลำของหมอลำกลอนอีสาน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 กันยายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 (FAR8) “The Future of Arts: The Challenges to Artists” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 กันยายน 2565 
     ถึง 4 กันยายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1256 
     Editors/edition/publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ 
     บทคัดย่อ บทความเรื่อง สิงคาลกสูตรในกลอนลำของหมอลำกลอนอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการประพันธ์กลอนลำเกี่ยวกับสิงคาลกสูตรในกลอนลำของหมอลำกลอนอีสานและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสิงคาลกสูตรในกลอนลำของหมอลำกลอนอีสาน โดยศึกษาข้อมูลทั้งจากเอกสารและจากการลงพื้นที่ ด้วยวิธีการสังเกต และสัมภาษณ์ทั้งชนิดที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างสำหรับกลุ่มผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1. นายมีฤทธิ์ ปัญญาวงษ์ 2. นางจินตนา เย็นสวัสดิ์ 3. นางทองวรรณ บุญเที่ยง 4.นายวิรัช ประทุมมัง 5. นางบัวผัน จักรพิมพ์ และ 6.พระมหาใจ เขมจิตฺโต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบวิเคราะห์ตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การประพันธ์กลอนลำที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิงคาลกสูตรนั้น แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ 1. ยุคแผ่นเสียง หมายถึงยุคของการเริ่มต้นบันทึกเสียงลงในระบบแผ่นเสียง โดยจะมีเนื้อเกี่ยวกับการพรรณนาป่าไม้ ชมนกชมเขา หรือลำล่องโขง เป็นต้น โดยเริ่มต้นจากการนำเอากลอนลำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคติธรรมมาแทรกบ้าง 2.ยุคลำโจทย์แก้ หมายถึงยุคของการลำประชันปุจฉา วิสัชนา ถามตอบเกี่ยวกับปัญหา ซึ่งเริ่มมีการนำเอาบทพระสูตรในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามาประพันธ์เพื่อที่จะอวดภูมิความรู้ของหมอลำ 3. ยุคลำประยุกต์ เป็นยุคของหมอลำที่เรียนลำจากครูอาจารย์ในยุคที่ 2 นำเอาความรู้ ที่ได้เรียนมาแล้วมาประยุกต์เข้ากับตัวบทสิงคาลกสูตรบ้าง หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตและการดำรงชีพบ้าง จึงนำมาประพันธ์เป็นบทกลอนลำ และยังมีผู้ได้ที่บวชเรียนมาซึ่งมองเห็นในหลักของสิงคาลกสูตรมีสาระที่ผู้คนทั่วไปควรที่จะรับรู้ จึงได้ประพันธ์ขึ้นมาอีกด้วย 2. ตัวบทสิงคาลกสูตรที่อธิบายถึงวิธีการปฏิบัติในการดำเนินชีวิต จะมีความแตกต่างกับกลอนลำของหมอลำกลอนอีสานเหล่านี้อยู่มาก แต่บทประพันธ์เหล่านั้นยังคงมีการสอดแทรกหลักปฏิบัติที่ปรากฏมีอยู่ในสิงคาลกสูตร อยู่ในทุกกลอน ซึ่งแต่ละกลอนอาจจะมีครบตามตัวบท หรือมีไม่ครบตามตัวบท แต่ผู้ประพันธ์มีความมุ่งหมายที่จะสื่อสารกับผู้ที่ได้รับฟังบทกลอนลำเหล่านั้นเพื่อจรรโลงจิตใจของผู้ฟังและหวังจักเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่นให้สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตามได้ 
ผู้เขียน
635220002-3 นาย ธีระบุตร ลุสีดา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0