2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสร้างสรรคฺนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุดเกี้ยวแก้วเกียงคำ จากรสในวรรณกรรมสินไซ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 กันยายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 (FAR8) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 กันยายน 2565 
     ถึง 4 กันยายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 868-885 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด เกี้ยวแก้วเกียงคำ จาก รสในวรรณกรรมสินไซ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารสที่ปรากฏในวรรณกรรมสินไซ และนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษามาสร้างสรรค์เป็นผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Study) เพื่อทำการรวบรวมข้อมูลโดยทำการสำรวจและการสัมภาษณ์ และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์สร้างสรรค์เป็นผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยใช้กรอบวิเคราะห์ตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและนำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์พร้อมผลงานสร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่า 1.ผลการศึกษารสที่ปรากฏในวรรณกรรมสินไซ ตอนด่านเทพกินรี เมื่อนำเนื้อหาจากวรรณกรรม ฉบับ มั่น จงเรียน มาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฏีรสตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต ปรากฏว่าเป็น ศฤงคาระรส (รสแห่งความรัก) 2.ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุดเกี้ยวแก้วเกียงคำ เป็นการนำเสนอจุดเด่นผ่านรสที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสินไซ ตอนด่านเทพกินรี โดย ย่อ สรุป ให้จบการแสดงในเวลาที่จำกัด มีการนำเสนอในรูปแบบที่แปลกใหม่และสอดคล้องตามยุคสมัย ภาพสรุปรวมของการแสดงที่ผู้ชมได้เห็นในการแสดง คือ รูปแบบการแสดงที่นำมาประยุกต์ ผ่านกระบวนการด้วยการตีความในรูปแบบใหม่ โดยผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ ที่เป็นการแสดงที่เป็นการดึงเอารสที่ปรากฏในวรรณกรรมมาสร้างสรรค์ผลงาน จากการศึกษาวรรณกรรมสินไซตอนด่านเทพกินรี โดยใช้ทฤษฎีรส ในทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต มาวิเคราะห์เนื้อหาแสดงให้เห็นถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึก จำแนกเป็น “ภาวะ” ได้แก่ สภาพการณ์ที่ปรากฏ เหตุที่นำพาให้เกิดและเหตุส่งเสริมจนทำให้เกิด “รส” ปรากฏว่าเป็น ศฤงคาระรส (รสแห่งความรัก) และนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย เพื่อสืบสานและเผยแพร่ศิลปะการแสดงและวรรณกรรมอีสาน รวมทั้งการศึกษาและรวบรวมไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและสืบสานต่อไป คำสำคัญ: นาฏยศิลป์ร่วมสมัย, รสในวรรณกรรม, สินไซ  
ผู้เขียน
635220006-5 น.ส. ฉัตรชญา ปรือทอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0