2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14 The 14th Graduate Research Conference 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม ณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 เมษายน 2565 
     ถึง 2 เมษายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 14 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 73-90 
     Editors/edition/publisher ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนันรัตน์ รูปใหญ่ 
     บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด และ 2. เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นวิเคราะห์โพรโตคอล (Protocol) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analysis Description) ในการอธิบายผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียน รวมถึงในระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์การรับรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของตนเองของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกมั่งงอย(คุรุประชาบำเพ็ญ) อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน แบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย ภาพถ่าย แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้แก่ โพรโตคอล(Protocol)ในชั้นเรียน ภาพถ่าย แบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของตนเอง โดยข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของ (Ali Bicer 2020) ผลวิจัยพบว่าชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดทำให้นักเรียนมีความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เห็นได้จากนักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์คณิตศาสตร์ 3 องค์ประกอบ ความคล่อง ความยืดหยุ่น และความริเริ่ม แสดงผ่านการแก้ปัญหา การเสนอแนวคิดจากการแก้ปัญหา การอภิปรายในชั้นเรียนและการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และนักเรียนยังมีระดับการรับรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.05 ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยมีพฤติกรรมในด้านความมั่นใจในการแก้ปัญหาของตนเองมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.50 ซึ่งอยู่ในระดับมาก 
ผู้เขียน
635050109-1 นาย จักรภัทร เกิ้นโนนกอก [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0