2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลกระทบของการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องต่อสังคมแพลงก์ตอนสัตว์ในนาข้าว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 ตุลาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 9 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     สถานที่จัดประชุม สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 ตุลาคม 2562 
     ถึง 4 ตุลาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 134-135 
     Editors/edition/publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     บทคัดย่อ การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานย่อมส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในนั้น คณะผู้วิจัยจึงเปรียบเทียบความหลากชนิดและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ในนาที่มีประวัติการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี จำนวน 2 แปลงนา ได้แก่ นาขนาดพื้นที่ 11 ไร่ ที่หยุดใช้สารกำจัดศัตรูพืชระยะเวลา 1 ปี (RF-APA) และนาขนาดพื้นที่ 13 ไร่ ที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชในปีที่เก็บตัวอย่าง (RF-PA) นาทั้ง 2 แปลงอยู่ในเขตอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยอยู่ห่างกันประมาณ 60 เมตร การเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์เชิงปริมาณจำนวน 10 จุด ในวันที่ 14 และ 29 ตุลาคม 2561 โดยกรองตัวอย่างน้ำปริมาตร 20 ลิตร ผ่านถุงกรองแพลงก์ตอนขนาดตา 20 ไมโครเมตร และรักษาสภาพตัวอย่างด้วยสารละลายลูกอล ความเข้มข้นร้อยละ 1 รวมทั้งสุ่มเก็บไข่พักของแพลงก์ตอนสัตว์ในดินจากนาข้าวทั้ง 2 แปลง มาเพาะฟักในห้องปฏิบัติการ โดยเก็บตัวอย่างทุก 6 วัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่า นาข้าว RF-APA และนาข้าว RF-PA มีความหลากชนิดของแพลงก์ตอนสัตว์เท่ากับ 113 และ 88 ชนิด ตามลำดับ โดยมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงของ abundance−based Jaccard (Jabd) เท่ากับ 0.438 นาข้าว RF-APA มีความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์เท่ากับ 24.42 ตัวต่อลิตร ซึ่งสูงกว่านาข้าว RF-PA ที่มีความหนาแน่น 16.62 ตัวต่อลิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.527, p = 0.000) และทั้ง 2 แปลงนา พบจำนวนชนิดของแพลงก์ตอนสัตว์จากการเพาะฟักไข่พัก 16 ชนิดเท่ากัน แต่มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงของ Jabd เพียง 0.243 นอกจากนั้นนาข้าว RF-APA มีปริมาณแอมโมเนีย 0.17±0.08 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่านาข้าว RF-PA ที่มีค่าดังกล่าว 0.04±0.03 มิลลิกรัมต่อลิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.562, p = 0.005) จากการวิเคราะห์ Canonical Correspondence Analysis พบว่า ปริมาณแอมโมเนีย (r = 0.995) และค่าการนำไฟฟ้า (r = 0.913) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับโรติเฟอร์ 7 ชนิด ได้แก่ Lecane bulla, L. hamata, L. papuana, L. quadridentata, Lophocharis salpina, Testudinella patina และ Trichocerca tenuior ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแปลงนาที่ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อความหลากหลายและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ในนาข้าว งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำจืด กุ้ง ปู ไรน้ำ หอย ไส้เดือน ปลิงน้ำจืด และอื่นๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร การเกษตร การแพทย์และเวชสำอาง สิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (BDC-PG4-160020)” 
ผู้เขียน
597020053-0 นาย ณัฐพร ปลั่งกลาง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0