2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การใช้สื่อภาพเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทางสังคมของเด็กที่มีภาวะออทิซึม Using Augmented Reality to Enhance Social Interactions For Children with Autism  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 กันยายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 10  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 
     สถานที่จัดประชุม การประชุมรูปแบบผสมผสานระหว่างในห้องประชุม ณ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และระบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting  
     จังหวัด/รัฐ ไทย 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 สิงหาคม 2565 
     ถึง 31 สิงหาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่) 10 
     หน้าที่พิมพ์ 180-189 
     Editors/edition/publisher สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 
     บทคัดย่อ เด็กที่มีภาวะออทิซึม คือภาวะความบกพร่องทางพัฒนาการด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การวิจัยครั้งนี้จึงได้ศึกษา แนวทางการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ เพื่อพัฒนาสื่อภาพเสมือนจริงในการส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทางสังคมของเด็กที่มีภาวะออทิซึม และเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้สื่อภาพเสมือนจริงในการส่งเสริมพัฒนาการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทางสังคมของเด็กที่มีภาวะออทิซึม กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะออทิซึมและมีปัญหาการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทางสังคม จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาสื่อภาพเสมือนสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึม ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของอยู่ระหว่าง .97-1.00 แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือ และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.91, S.D.= 0.16) 2) เปรียบเทียบการใช้สื่อภาพเสมือนจริงในการส่งเสริมพัฒนาการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทางสังคมของเด็กที่มีภาวะออทิซึมก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าเด็กที่มีภาวะออทิซึมที่ใช้สื่อภาพเสมือนจริง มีระดับพัฒนาการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทางสังคมมีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนหลังใช้สื่อภาพเสมือนจริงสูงกว่าก่อนใช้สื่อภาพเสมือนจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
ผู้เขียน
635050200-5 น.ส. สายฝน ศรีมี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0