2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรัง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 20 กันยายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาตร์และสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่่่น 
     ISBN/ISSN 0125-7021 
     ปีที่ 45 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2565
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 15 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการจัดการอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 ที่ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต การพัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนวรรณกรรม โดยการศึกษาทบทวนเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาโปรแกรม ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมตามกรอบแนวคิดการจัดการอาการ ร่วมกับรูปแบบการสนทนาเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ โปรแกรมประกอบด้วยกิจกรรม 5 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ประเมินประสบการณ์ การรับรู้อาการเบื่อาหาร และความต้องการในการจัดการอาการ ค้นหาแรงจูงใจ ให้ความรู้ตามโปรแกรมและคู่มือ ครั้งที่ 2 ประเมินผลการจัดการอาการ สนทนาถึงทักษะและการจัดการอาการพร้อมเสนอแนะให้ความรู้ตามคู่มือและพูดคุยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครั้งที่ 3 พัฒนากลวิธีการจัดการอาการเบื่ออาหาร สนทนาต่อเนื่องร่วมกับให้ความรู้และการปรับเปลี่ยน ครั้งที่ 4 ประเมินผลการจัดการอาการ สนทนาถึงผลของการจัดการการอาการเบื่ออาหาร ครั้งที่ 5 สะท้อนผลการเรียนรู้หลังได้รับโปรแกรม และเก็บข้อมูลวิเคราะห์สรุปผล โดยผู้วิจัยดำเนินกิจกรรมครั้งที่ 1 ครั้งที่ 3 และ ครั้งที่ 5 ที่โรงพยาบาลระหว่างผู้ร่วมวิจัยรอรับการตรวจจากแพทย์ตามนัด ใช้เวลาครั้งละ 30-45 นาที ส่วนครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 4 เป็นการโทรศัพท์ติดตามรายบุคคล ใช้เวลาครั้งละ 5-10 นาที ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณภาพ ความเป็นไปได้และการยอมรับได้ของโปรแกรม ผลการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน พบว่าค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังและคู่มือการส่งเสริมการจัดการอาการเบื่ออาหารสำหรับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรัง เท่ากับ 0.82 และ 0.75 ตามลำดับ การประเมินความเป็นไปได้และการยอมรับได้ของโปรแกรม พบว่าความคงอยู่ในโปรแกรมเป็นร้อยละ 100 และผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีผลลัพธ์ของโปรแกรมดีขึ้น 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ในการจัดการต่ออาการเบื่ออาหาร พฤติกรรมในการจัดการต่ออาการเบื่ออาหาร แรงจูงใจในการจัดการต่ออาการเบื่ออาหาร และความพึงพอใจในการรับประทานอาหาร ส่วนผลลัพธ์ด้านอาการเบื่ออาหารไม่ดีขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุไตเรื้อรังที่ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไตมีการดำเนินโรคมากขึ้นตามระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุไตเรื้อรังที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ เป็นไปได้และยอมรับได้ โดยแม้จะไม่สามารถลดอาการเบื่ออาหารได้ แต่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถจัดการต่ออาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นได้ทำให้มีความพึงพอใจในการรับประทานอาหารมากขึ้น จึงควรมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมนี้กับผู้สูงอายุที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน  
     คำสำคัญ : อาการเบื่ออาหาร โรคไตเรื้อรัง การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ ผู้สูงอายุ การจัดการอาการ 
ผู้เขียน
625060028-4 นาง วนิดา เข็มพิมาย [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0